Thursday, May 28, 2009

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จ้างเหมาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ชุมสายโทรศัพท์ บางพลัด

ส่วนจัดหากลางที่ 1 ฝ่ายบริหารพัสดุ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์จะประมูลจ้าง จ้างเหมาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ชุมสายโทรศัพท์ บางพลัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร พร้อมรื้อถอนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเดิม ติดตั้งใหม่ ณ ชุมสายโทรศัพท์ราษฎร์บูรณะ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ จพพ.1/8/2552บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต้องการจ้างเหมาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ชุมสายโทรศัพท์ บางพลัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร พร้อมรื้อถอนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเดิม ติดตั้งใหม่ ณ ชุมสายโทรศัพท์ราษฎร์บูรณะ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ถึง 16 มิถุนายน 2552 ระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 10.00 น. ณ ห้องประกวดราคาอาคาร 10 (อาคารจอดรถ) ชั้น 1 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ 3000 บาท ได้ที่ ส่วนรับและจ่ายเงิน อาคาร 1 ชั้น 1 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://tot3.tot.co.th/bid หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2505-6948 ในวันและเวลาราชการ

ก่อนใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator)

ก่อนใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ทำความคุ้นเคยการทำงาน โดยศึกษาจากคู่มือ อุปกรณ์การควบคุม เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
สามารถควบคุมได้ทั้งระบบ Manual และ Automatic ศึกษาตำแหน่งของวาล์วที่ทำงานและ
อุปกรณ์การดับเครื่องจนเป็นที่เข้าใจ

(2) มีความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

(3) ตรวจสอบน้ำในหม้อน้ำรังผึ้ง ต้องมีน้ำเต็มและฝาปิดหม้อน้ำไม่ชำรุด สายยางท่อน้ำอยู่ในสภาพดี

(4) ตรวจวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ ต้องอยู่ในระดับที่กำหนด

(5) ตรวจสอบน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีปริมาณเพียงพอหรือไม่ สำหรับการเดินเครื่องใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อ
ระบบควบคุมตั้งอยู่ในตำแหน่ง Automatic

(6) ตรวจสอบระบบการประจุของแบตเตอรี่ของเครื่องประจุ

(7) ตรวจสอบระดับน้ำกลั่นของแบตเตอรี่ต้องไม่แห้ง ขั้วสายไฟของแบตเตอรี่ต้องสะอาดและแข็งแรง

(8) ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำ น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันดีเซลจากตัวเครื่องยนต์ หากพบว่ามีการรั่วซึมให้รีบแก้ไขหรือเรียกบริการจากช่างผู้ชำนาญ

(9) ตรวจสอบความตึงของสายพาน ต้องไม่หย่อนหรือตึงเกินไปโดยกดที่ระยะกึ่งกลางระหว่างพูเล่ของ
ใบพัดกับพูเล่ของไดชาร์ต น้ำหนักกดประมาณ 10 kg ตั้งความตึงสายพานให้ได้ประมาณ 11 ถึง 13
mm. สายพานหย่อนเกินมักก่อให้เกิดปัญหาของเครื่องยนต์ดีเซลมีอุณหภูมิสูง และการประจุไฟ
ของไดชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ต่ำเกินไป สายพานที่ตึงเกินไปจะทำให้ตัวสายพานและพูเล่ต่าง ๆ เสื่อมสภาพ
เร็วกว่าปกติ

(10) ตรวจสอบใบพัดระบายอากาศ ต้องอยู่ในสภาพดีไม่แตกชำรุด

(11) ตรวจสอบ Circuit Breaker ต้องอยู่ในสภาพดีและขั้วต่อสายไฟต่าง ๆ แน่นหนาแข็งแรง

(12) ทดสอบเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยไม่ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้า และตรวจสอบแรงดันของไฟฟ้าต้อง
อยู่115 ในเกณฑ์ปกติ 220 V. โดยวัดจาก Line กับ Neutral หรือ 380 V. วัดระหว่าง Line กับ Line

(13) ตรวจสอบความถี่ทางไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ 50 ถึง 52 Hz

(14) ตรวจสอบแรงดันของน้ำมันเครื่องว่าปกติหรือไม่ (ดูจากมาตรวัดความดัน)หลีกเลี่ยงการเดินเครื่อง
ยนต์โดยระดับแรงดันน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด เครื่องยนต์ใช้งานในสภาวะปกติ แรงดัน
น้ำมันหล่อลื่นจะต้องไม่ต่ำกว่าระดับกำหนดนี้จึงจะไม่ทำให้เครื่องยนต์ชำรุด

เมื่อเดินเบารอบเครื่องประมาณ 800 RPM 10 PSI (0.07 Mpa)

เมื่อเดินเครื่องใช้งานรอบเครื่องประมาณ 1500 RPM 40 PSI (0.28 Mpa)

Wednesday, May 27, 2009

กรมช่างโยธาทหารเรือ สอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 15 KW

กรมช่างโยธาทหารเรือ มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 15 KW. จำนวน 1 เครื่อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่สอบราคาซื้อดังกล่าว
2. ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
3. ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันนั้น
4. ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่ กรมช่างโยธาทหารเรือ ณ วันประกาศสอบราคาซื้อ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการสอบราคาซื้อครั้งนี้

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 ถึง 1 มิถุนายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.00 น. ณ แผนกพัสดุช่าง กองการพัสดุ กรมช่างโยธาทหารเรือ ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 2 มิถุนายน 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ แผนกพัสดุช่าง กองการพัสดุ กรมช่างโยธาทหารเรือ ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ - หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2475 5663 ในวันและเวลาราชการ

Monday, May 25, 2009

ลูกยางรองแท่นเครื่องกับสปริงรองแท่นเครื่อง

ลูกยางรองแท่นเครื่อง (Vibration Isolator rubber type) มักจะติดตั้งมากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Diesel Generator) เป็นมาตรฐานแล้ว โดยแต่ละยี่ห้อก็จะจัดอุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือนแตกต่างกันไป ซึ่งจากประสบการณ์ของผมพบว่า ผู้ขายมักจะจัดมาให้เหมาะสมกับการติดตั้งอยู่แล้ว (อย่าไประแวงคนขายเกินกว่าเหตุ) เพราะถ้าหากจัดมาแล้วมีปัญหา ไม่ได้ปวดหัวแต่ลูกค้า คนขายเองก็ปวดหัวด้วย เพราะลูกค้าอย่างเรา ๆ ก็คงโทรตามไม่เลิกแน่ ๆ

ซึ่งการใช้งานที่แตกต่างกันนั้นส่วนหนึ่งก็จะมีสาเหตุมาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กในปัจจุบันหลาย ๆ ยี่ห้อออกแบบถังน้ำมันให้อยู่ใต้แท่นเครื่อง และได้คำนวณติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือนโดยใช้ลูกยางรองแท่นเครื่องมาจากโรงงานแล้ว (และไม่ควรติดตั้งสปริงเพิ่มเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาเครื่องสั่นในขณะใช้งานได้) อันเนื่องมาจากถังน้ำมันใต้แท่นเครื่องที่จะมีปริมาณน้ำมันไม่คงที่ตลอดเวลาเพราะเมื่อมีการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะทำให้ปริมาณน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้น้ำหนักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีการผันแปรไป ซึ่งถ้าติดสปริงเพิ่มก็จะมีผลให้เวลาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน เครื่องจะสั่นได้

แต่ในกรณีที่ถังน้ำมันเป็นแบบแยก น้ำหนักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากเหมือนกับกรณีถังน้ำมันใต้แท่น ดังนั้นการติดตั้งสปริงเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนจึงมักจะไม่ค่อยเจอปัญหาเครื่องสั่น

สรุปแล้วเชื่อคนขายดีกว่าครับ ตอนแรกเค้าบอกว่าไม่จำเป็น ผมก็นึกว่าเค้ากลัวเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่สุดท้ายต้องมานั่งแก้ไขปัญหา ว่าทำไมเวลาเครื่องทำงานแล้วสั่นเป็นเจ้าเข้าเลย สุดท้ายพอถอดสปริงออกเครื่องเดินนิ่งเชียว

Sunday, May 24, 2009

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำฝน

น่าภูมิใจครับสำหรับสิ่งประดิษฐ์ของคนไทย แต่ผมเห็นว่าน่าจะนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับ เครื่องออกกำลังกายก็จะ work มาก เพราะ ถ้ารอแต่น้ำฝน ก็ไม่รู้เมื่อไหร่ ฝนจะตก และปริมาณน้ำฝนไม่สม่ำเสมอ แต่ถ้านำมาใช้กับการออกกำลังกายในแต่ละบ้าน สมมติที่บ้านมีสมาชิกสัก 3-4 คน ออกกำลังกายทุกวัน วันละ 30 นาที และก็นำพลังงานที่ได้มาเก็บไว้ (แต่ปัญหาคือพลังงานไฟฟ้าสามารถเก็บได้ยาก ต้องเก็บไว้ในแบตเตอรี่ หรืออาจนำพลังงานกลมาทำให้เป็นพลังงานศักย์ก่อน (เช่น ปั่นจักรยานนำน้ำขึ้นไปเก็บไว้ที่สูง แล้วค่อยปล่อยน้ำออกมาให้หมุนชุดกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น) ) ก็จะมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างสม่ำเสมอ แถมทำให้สุขภาพดีอีกด้วยนะ

จาก www.youtube.com