Saturday, June 6, 2009

โครงการศึกษาปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (POWER FACTOR) ของผู้ใช้ไฟฟ้า

การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภครับผิดชอบในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าอย่างมีคุณภาพ และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้านั้น กฟน.ได้ตะหนักถึงความมั่นคงเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า คุณภาพและการบริการ การประหยัดพลังงาน และส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อการประหยัดพลังงานของประเทศ ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน รวมถึงผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ในที่สุด

อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆล้วนต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งพลังงานไฟฟ้าจะถูกส่งมาจากแหล่งผลิตไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ โดยผ่านการแปลงแรงดันจากหม้อแปลงไฟฟ้าหลายครั้งกว่าจะมาถึงผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละรายได้ ประสิทธิภาพหรือคุณภาพของการจ่ายไฟฟ้าจึงมีความสำคัญมาก

เพาเวอร์แฟคเตอร์(POWER FACTOR : PF) หรือตัวประกอบกำลังไฟฟ้า เป็นตัวประกอบสำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพหรือคุณภาพของการจ่ายไฟฟ้าในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ต่ำ มีผลทำให้ระบบการจ่ายไฟฟ้ามีคุณภาพต่ำไปด้วย การไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องเพิ่มขนาดของอุปกรณ์ จำหน่ายไฟฟ้าให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถรับปริมาณพลังงานไฟฟ้า ส่วนที่ไม่จำเป็นหรือที่เรียกกันว่า พลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ ซึ่งไม่มีผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม นอกจากนั้นยังต้องปรับปรุงคุณภาพการจ่ายไฟฟ้าให้มีแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำลงด้วย ทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ดังนั้นหากผู้ใช้ไฟฟ้าปรับปรุง POWER FACTOR ของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้สูงขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าก็จะได้รับผลประโยชน์ไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชาติประหยัดพลังงานได้ในที่สุด

ถึงแม้ว่าได้มีการใช้ค่าปรับ POWER FACTOR เพื่อชักจูงผู้ใช้ไฟฟ้าให้ทำการปรับปรุง POWER FACTOR เพื่อการประยัดพลังงานมาช้านานแล้วก็ตาม แต่ยังมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนน้อยที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุง POWER FACTOR ดังกล่าว ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของรัฐบาล การไฟฟ้านครหลวงจึงได้จัดทำ “โครงการศึกษาปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (POWER FACTOR) ของผู้ใช้ไฟฟ้า” ขึ้น และเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติเพื่อขอรับการสนับสนุน ด้านการเงิน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานโดยจะดำเนินการปรับปรุงค่า POWER FACTOR ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีค่าต่ำกว่า 0.85 Lagging ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 11,065 ราย และมีค่า POWER FACTOR มากกว่า 0.85 Lagging โดยการติดตั้งCapacitor จำนวนทั้งสิ้น 461.75 MVAR ซึ่งจะทำให้เพิ่มความสามารถของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในระบบไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

การดำเนินงานในโครงการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้ากับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มี PF. ของผู้ใช้ไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้น 0.85 Lagging ซึ่งจะเป็นการลดกำลังไฟฟ้าที่จะสูญเสียไป และเพิ่มความสามารถในการรับ Load ของอุปกรณ์ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นทั้งของผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้จำหน่ายไฟฟ้าระบบส่งไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอันเป็นการประหยัดการใช้พลังงานของผู้ใช้ไฟฟ้า และประเทศชาติโดยรวมผลการดำเนินงานในโครงการนี้ จะก่อให้การอนุรักษ์พลังงานทางด้านไฟฟ้าเป็นไปอย่างถูกวิธีและเป็นรูปธรรม

โดยการไฟฟ้านครหลวงจะดำเนินการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า POWER FACTOR ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มี PF. ต่ำกว่า 0.85 Lagging จำนวนทั้งสิ้น 11,065 ราย โดยกฟน. จะให้ความรู้คำแนะนำของประโยชน์ในการปรับปรุงค่า POWER FACTOR ต่อผู้ใช้ไฟฟ้า พร้อมกับเชิญบริษัทเอกชนที่มีคุณสมบัติตามข้อที่กำหนดไว้ และประสงค์ที่จะรับจ้าง กฟน. เพื่อดำเนินการสำรวจ ออกแบบและติดตั้งตัวเก็บประจุไฟฟ้า จำนวนประมาณ 461.75 MVAR โดยการประกวดราคา หรือการดำเนินการดังกล่าวพร้อมรับประกันความเสียหายที่เกิดกับอุปกรณ์ที่ทำการติดตั้งไว้เป็นเวลา 2 ปี ภายใต้การกำกับดูแลของ กฟน. พร้อมกับบริษัทฯ ดังกล่าวจะต้องตรวจสอบค่า POWER FACTORของผู้เข้าร่วมใช้ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการแต่ละปีและประกันความเสียหายของอุปกรณ์ตลอดระยะเวลาที่รับประกัน ไว้เพื่อการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ได้สภาพที่ใช้งานปกติ โดย กฟน. จะขอรับการสนับสนุนด้านการเงินของโครงการฯกับกองทุนเพื่อส่งเสิรมการอนุรักษ์พลังงาน และให้ผู้ใช้ไฟฟ้าร่วมสมทบทุนติดตั้ง Capacitorและอุปกรณ์ประกอบอีกส่วนหนึ่ง พร้อมกันนี้ กฟน. จะได้จัดทำแผนเพื่อการลงทุนปรับปรุง PF.ในระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟน. ให้มีค่า POWER FACTOR เท่ากับหรือมากกว่า 0.875 ด้วย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ เพิ่มความสามารถของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบไฟฟ้าได้หรือมีความสามารถในการรับ Load ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในระบบไฟฟ้าได้เพิ่มมากขึ้น เท่ากับ 287.72 MW คิดเป็นเงินที่ประเทศชาติสามารถประหยัด การลงทุนขยายระบบไฟฟ้าได้ คิดเป็นจำนวนเงิน 641.103 ล้านบาทต่อปี

ลดพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย ซึ่งทำให้ประเทศชาติสามารถประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้เท่ากับ 97.81 GWh ต่อปี คิดเป็นเงินที่ประเทศชาติสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 141.306 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นเงินที่ประเทศสามารถประหยัดได้รวมเท่ากับ 782.094 ล้านบาทต่อปี

ในขณะเดียวกันผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้ปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าได้สูงขึ้นแล้วสามารถเพิ่มความสามารถของสายไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้าในการรับ Load ได้เพิ่มขึ้น 370.33 MW คิดเป็นเงินของผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 72.635 ล้านบาทต่อปี ประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ 651.86GWh ต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้ เท่ากับ 689.799 ล้านบาทต่อปี และนอกจากนี้ยังสามารถประหยัดค่าไฟฟ้ารีแอคทีฟได้อีก คิดเป็นเงิน 96.340 ล้านบาทต่อปี และประหยัดค่าไฟฟ้าอันเนื่องจาก Copper Loss และ Cable Loss คิดเป็นเงิน 66.13 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นเงินที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถประหยัดในการใช้พลังงานได้รวมถึง 924.904 ล้านบาทต่อปี รวมเงินที่สามารถอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดได้ประมาณ 1,707.331 ล้านบาทต่อปี

ที่มา เว็บไซต์สถาบันวิจัยพลังงาน

การปรับปรุงเพาเวอร์แฟคเตอร์ (power factor) ของโหลดด้วยคาปาซิเตอร์

ตัวอย่าง โหลดที่แรงดัน 380V ขนาด 1000kW 0.75PF ต้องการปรับให้เป็น 0.95PF ต้องใช้คาปาซิเตอร์ขนาดเท่าใด ถ้าพิกัดแรงดันของคาปาซิเตอร์มีค่า 440V

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คาปาซิเตอร์เปรียบเสมือนกับเครื่องกำเนิดวาร์ (Vars) หรือเป็นตัวกำเนิดกำลังไฟฟ้ารีแอคตีฟ Q
ก่อนใส่คาปาซิเตอร์ กำลังไฟฟ้ารีแอคตีฟของโหลดมีค่า QL สามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้า (Power Triangle) ซึ่งประกอบด้วยกำลังไฟฟ้าจริง PL และกำลังไฟฟ้ารีแอคตีฟ มุม qL เป็นมุมซึ่งหาได้จาก cos-1(PF)
qL = cos-1(0.75) = 41.4o
โหลดมีค่า 1000kW 0.75PF
PL = 1000kW
QL = PLtanqL = 1000tan41.4o = 881kVar
SL = PL/cosqL = 1000/0.75 = 1333kVA
เมื่อต้องการปรับ PF ให้เป็น 0.95
qL = cos-1(0.95) = 18.2o
QL - QC = PLtanqL = 1000tan18.2o = 329kVar
ขนาดคาปาซิเตอร์ที่ต้องใช้สำหรับระบบแรงดัน 380V
881 - 329 = 552kVar
ถ้าพิกัดแรงดันของคาปาซิเตอร์เป็น 440V ต้องใช้คาปาซิเตอร์ขนาด
552 x (440/380)2 = 740kVar
ทำไมต้องเป็น 552 x (440/380)2 ในทางปฏิบัติเราไปหาคาปาซิเตอร์พิกัดแรงดัน 380V คงไม่มีหรืออาจหายาก ดังนั้น ถ้าพิกัดแรงดันของคาปาซิเตอร์ไม่ตรงกับแรงดันของระบบที่ใช้งานก็ต้องคำนวณเพื่อหาขนาดคาปาซิเตอร์ที่ถูกต้องมาใช้งาน

วิศวกรบางท่านได้ค่าคาปาซิเตอร์ที่ได้จากการคำนวณในระบบ 380V ก็สั่งซื้อขนาดดังกล่าวมาติดตั้ง ปรากฏว่าได้ PF ไม่ตรงตามต้องการ ในทางปฏิบัติมีการใช้ไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก

สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงในคาปาซิเตอร์คือค่า XC ดังนั้น กำลังไฟฟ้าจึงมีค่าเท่ากับ V2/XC ขึ้นกับว่าไปใช้ที่แรงดันเท่าใด ถ้าใช้ที่แรงดันต่ำก็ทำให้กำลังไฟฟ้า kVar มีค่าน้อยลง
สรุปได้ว่ากำลังไฟฟ้า kVar แปรตาม V2

ถ้านำคาปาซิเตอร์ 740kVar ที่พิกัดแรงดัน 440V มาใช้งานที่ 380V ได้ 740 x (380/440)2 = 552kVar
- ถ้านำคาปาซิเตอร์ 740kVar ที่พิกัดแรงดัน 440V มาใช้ในระบบ กฟน. ที่มีพิกัดแรงดัน 416V จะเหมือนต่อคาปาซิเตอร์ขนาด 740 x (416/440)2 = 661kVar

ถ้านำคาปาซิเตอร์ 740kVar ที่พิกัดแรงดัน 440V มาใช้ในระบบ กฟภ. ที่มีพิกัดแรงดัน 400V จะเหมือนต่อคาปาซิเตอร์ขนาด 740 x (400/440)2 = 611kVar

ที่มา : http://jom.212cafe.com/archive/

การไฟฟ้านครหลวง จะประมูลซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองพร้อมอุปกรณ์ ขนาด 500 kVA

การไฟฟ้านครหลวง มีความประสงค์จะประมูลซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองพร้อมอุปกรณ์ ขนาด 500 kVA. พร้อมติดตั้ง จำนวน 1 ชุด โดยมีกำหนดส่งมอบพัสดุให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับถัดจากวันที่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขาย

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 ถึง 10 กรกฎาคม 2552 ระหว่างเวลา 08.00 น. ถึง 11.00. น. ณ อาคาร 3 ชั้น 7 งานจัดซื้อ-จัดจ้าง กองสนับสนุนธุรกิจ ฝ่ายบริการระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ -- กรกฎาคม 2552 เวลา --- น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ 1,000.00 บาท ได้ที่ อาคาร 3 ชั้น 7 งานจัดซื้อ-จัดจ้าง กองสนับสนุนธุรกิจ ฝ่ายบริการระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ ---- หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 02-220-5558 ในวันและเวลาราชการ

Thursday, June 4, 2009

Tuesday, June 2, 2009

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สอบราคาซื้อ Mobile Generator 12 เครื่อง

ด้วยฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษาสื่อสารไร้สาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ Mobile Generator จำนวน 12 เครื่อง-

กำหนดยื่นซองสอบราคา ณ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อสารไร้สาย ในวันที่ 11 มิ.ย. 2552 ภายในเวลา 09.00 น. - 11.15 น. ตามเวลานาฬิกาของฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อสารไร้สายเป็นมาตรฐาน-

กำหนดเปิดซองสอบราคาในวันที่ 11 มิ.ย. 2552 เวลาประมาณ 11.30 น.

จำหน่ายรายละเอียดชุดละ 107.- บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ผู้สนใจโปรดติดต่อขอซื้อเอกสารสอบราคาได้ที่ ส่วนธุรการรวมสื่อสารไร้สาย ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อสารไร้สาย ศูนย์บริการลูกค้าชั้น 3 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210-0298 โทร. 0-2104-4165, 0-2104-4795 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2552 ในเวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น. เป็นต้นไป

เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากับสิทธิส่งเสริมการลงทุน (BOI)

โดยปกติเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะเสียภาษีนำเข้า 10% (เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประกอบสำเร็จรูปจากต่างประเทศ) ซึ่งโดยปกติผู้ซื้อที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จะได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็มักจะเป็นรายการหนึ่งที่ได้รับการยกเว้นดังกล่าวด้วย ดังนั้นในกรณีที่ได้รับสิทธิส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จะช่วยให้ผู้ซื้อสามารถซื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ในราคาที่ประหยัดขึ้น 10 %

ในกรณีที่ผู้ซื้อได้รับสิทธิพิเศษ BOI ควรจะสั่งซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรงจากผู้ขาย เนื่องจากจะช่วยลดความซับซ้อนทางด้านเอกสารเกี่ยวกับใบแจ้งหนี้ ซึ่งควรจะเป็นชื่อเดียวกันกับผู้ได้สิทธิ BOI (เพราะอาจยุ่งยากในการสำแดงเอกสารกับสรรพากรในภายหลังได้)

Monday, June 1, 2009

หลังการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

หลังการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ตรวจสอบรอยรั่วซึมของระบบน้ำหล่อเย็น รอยรั่วซึมของน้ำมันหล่อลื่น

(2) ทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้ง โดยปัดฝุ่นผง เศษวัสดุที่ติดตามแนวหม้อน้ำ

(3) ตรวจสอบข้อต่อส่งกำลังต่าง ๆ

(4) ตรวจสอบจุดต่อสายไฟต่าง ๆ

(5) ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ

(6) ตรวจสอบหารอยปริร้าวของสายพานฉุดใบพัด และสายพานต่าง ๆ

(7) ทำความสะอาดสถานที่และเครื่องยนต์ ตู้ควบคุม

(8) ตรวจดูระดับน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับ

(9) ไล่ความชื้นออกจากที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิงทุก ๆ สัปดาห์ (ถ่ายน้ำทิ้งจากชุดกรองน้ำมันเชื้อเพลิง)

(10) ตรวจสอบจดบันทึกการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์

ระหว่างใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ระหว่างใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์กำหนด

(2) ตรวจสอบความถี่ทางไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์กำหนด

(3) ตรวจสอบกระแสการใช้งานของ Load ต้องไม่เกินกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

(4) ตรวจสอบแรงดันน้ำมันเครื่องยนต์ว่าปกติหรือไม่จากมาตรวัด

(5) ตรวจสอบอุณหภูมิของเครื่องยนต์ว่าปกติหรือไม่จากมาตรวัด

(6) สังเกตและฟังเสียงที่เกิดจากอาการผิดปกติของเครื่องยนต์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

(7) ตรวจเช็คการทำงานของตู้ควบคุม

(8) ไม่ควรเปิดหรือปิดเบรกเกอร์สำหรับจ่าย Load บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น

(9) หากเกิดประกายไฟจากจุดต่าง ๆ หรือมีกลิ่นไหม้ ควันขึ้นให้ดับเครื่องยนต์แล้วแจ้งช่าง

(10) ควรมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลเครื่องยนต์ขณะใช้งานตลอดเวลา