Thursday, December 24, 2009

คัมมิ่นส์ พาวเวอร์ เจเนอเรชั่น ประกาศขึ้นราคาสินค้าปี 2553

ข่าวประชาสัมพันธ์ ไทยบิสิเนสนิวส์ พุธที่ 11 พฤศจิกายน 2009

มินนีอาโพลิส (บิสิเนส ไวร์) 10 พ.ย. 2552

คัมมิ่นส์ พาวเวอร์ เจเนอเรชั่น (Cummins Power Generation Inc.) บริษัทในเครือคัมมิ่นส์ อิงค์ (NYSE: CMI) ประกาศขึ้นราคาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาด 6-2500 กิโลวัตต์ โดยราคาสินค้าจะปรับขึ้นระหว่าง 1.5-2% และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ของคัมมิ่นส์ พาวเวอร์ เจเนอเรชั่น ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อผลิตพลังงานหลัก พลังงานสำรอง และพลังงานต่อเนื่อง ทั้งในเชิงพาณิชย์และในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และการขึ้นราคาสินค้าครั้งนี้พิจารณาจากสถานการณ์ปัจจุบันในอุตสาหกรรม ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นและแนวโน้มตลาด

อย่างไรก็ตาม ราคาเฉลี่ยของระบบสวิตซ์ย้ายแหล่งจ่ายไฟฟ้าอัตโนมัติและระบบคู่ขนานจะยังคงเท่าเดิมในปีหน้า โดยพิจารณาจากปัจจัยในอุตสาหกรรมและแนวโน้มตลาด นอกจากนั้นบริษัทยังประกาศว่าจะตรึงราคาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภคไว้เท่าเดิมในปีหน้า โดยพิจารณาจากปัจจัยในอุตสาหกรรมผู้บริโภคและสภาพตลาด ทั้งนี้ ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Cummins Onan ถูกนำไปใช้ทั้งในยานพาหนะ สำหรับตั้งแคมป์หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ รวมถึงในการเดินเรือ ในที่พักอาศัย ในรถโฆษณา และการใช้งานแบบพกพา หรือเคลื่อนที่อื่น ๆ

คัมมิ่นส์ อิงค์ เป็นผู้นำด้านพลังงานระดับโลกซึ่งทำธุรกิจครบวงจรตั้งแต่การออกแบบ ผลิต จัดจำหน่าย และให้บริการเกี่ยวกับเครื่องยนต์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงระบบเชื้อเพลิง ระบบควบคุม ระบบอากาศ ระบบกรอง ระบบปล่อยไอเสีย และระบบกำเนิดพลังงานไฟฟ้า บริษัทมีสำนักงานใหญ่ในเมืองโคลัมเบีย รัฐอินเดียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา และให้บริการลูกค้าในกว่า 190 ประเทศทั่วโลกผ่านเครือข่ายสำนักงาน 550 สาขา รวมถึงผู้แทนจำหน่ายในท้องถิ่นกว่า 5200 ราย บริษัทมีรายได้สุทธิ 755 ล้านดอลล่าร์ จากยอดขายรวม 1.43 หมื่นล้านดอลล่าร์ในปี 2551 ท่านที่สนใจสามารถดูข่าวประชาสัมพันธ์อื่น ๆ ของบริษัทได้ที่เว็บไซต์ cummins.com หรือ everytime.cummins.com หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ สกอตต์ เมอร์ฟีย์ บริษัท คัมมิ่นส์ พาวเวอร์ เจเนอเรชั่น

แถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้า
ข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ประกอบด้วยแถลงการณ์คาดการณ์ล่วงหน้าตามที่มีการจำกัดความในกฎหมายปฏิรูปการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์ส่วนบุคคลในปี 2538 (Private Securities Litigation Reform Act of 1995) โดยประกอบด้วยข้อความที่เป็นการคาดการณ์ ความหวัง ความเชื่อ และความตั้งใจในอนาคตของบริษัท ซึ่งผลลัพธ์ที่แท้จริงอาจออกมาแตกต่างจากที่ได้คาดไว้ในแถลงการณ์ล่วงหน้าเนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาทิ สภาพเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเงินโดยทั่วไป, ความสัมพันธ์กับพนักงาน, มาตรการของรัฐบาล, การแข่งขันด้านราคา, ปัญหาด้านค่าใช้จ่าย รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ทางบริษัทระบุไว้ในเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ สามารถดูข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุดและภาพข่าวความคมชัดสูงได้ที่ cumminspr.robertscomm.com

ที่มา ryt9.com

Monday, December 21, 2009

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกวดราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 ชุด

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกวดราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 2 ชุด
เพื่อติดตั้งที่อาคาร 4 ชั้น G สำนักงานใหญ่

กำหนดยื่นประกวดราคาซื้อในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 ระหว่างเวลา 10.00-11.00 น. ณ ห้องประชุมเปิดซอง (1)
อาคาร 3 ชั้น 4 สำนักงานใหญ่ และกำหนดเปิดซองในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อซื้อเอกสารประกวดราคาได้ในราคา 500 บาท ที่แผนกรับจ่ายเงิน อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักงานใหญ่ และนำใบเสร็จรับเงินไปแสดงเพื่อรับแบบได้ที่ ศูนย์บริการงานจัดซื้ออาคาร 3 ชั้น 1 ระหว่างวันที่ 4-18 มกราคม 2553
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-545-3250 ติดต่อคุณธีรพล วรนุช ในวันและเวลาราชการ

Sunday, December 13, 2009

ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สอบราคาซื้อชุดพ่วงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่พร้อมโคมฉาย

ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ พร้อมติดตั้งชุดพ่วงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ พร้อมโคมฉาย เพื่อใช้งานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 1 งาน

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 ถึง 28 ธันวาคม 2552 ระหว่างเวลา 08.00 น. ถึง 16.30 น. ณ ส่วนจัดซื้อ ฝ่ายอำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชั้น 6 อาคารสำนักงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อาคาร AOB) และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 29 ธันวาคม 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ 100 บาท ได้ที่ ส่วนจัดซื้อ ฝ่ายอำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชั้น 6 อาคารสำนักงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อาคาร AOB) ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยนำสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลมาแสดงด้วย ในวันและเวลาทำการระหว่างเวลา 08.00 น. ถึงเวลา 16.30 น. ระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 23 ธันวาคม 2552 สอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2132-5407 ในวันและเวลาราชการ

Wednesday, November 25, 2009

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สอบราคาจ้าง เปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่และบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 1,900 KVAจำนวน 6 เครื่อง

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์จะสอบราคาจ้าง เปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่และบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 1,900 KVAจำนวน 6 เครื่อง ที่อาคาร กสท โทรคมนาคม บางรัก (ครั้งที่ 2)

กำหนดยื่นสอบราคาจ้างในวันที่ 8 ธันวาคม 2552 ถึง - ธันวาคม 2552 ระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 11.00 น. ณ สัญญา ฝ่ายโยธาและขนส่ง และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 8 ธันวาคม 2552 เวลา 11.10 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาจ้าง ในราคาชุดละ 107.- บาท ได้ที่ ส่วนจัดซื้อจัดจ้างและสัญญา ฝ่ายโยธาและขนส่ง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) อาคารบริหาร 1 ชั้น 4 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2552 สอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 02-104-3659 , 02-104-3475 ในวันและเวลาราชการ

Saturday, November 21, 2009

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 1 (ปราจีนบุรี) ประกวดราคา เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 1 (ปราจีนบุรี) มีความประสงค์จะประมูลซื้อ เรื่อง ประกวดราคาซื้อครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 5 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง
2. เครื่องรับส่งวิทยุ ระบบ VHF/FM ชนิดมือถือ 5 วัตต์ จำนวน 192 เครื่อง
3. เครื่องรับส่งวิทยุ ระบบ VHF/FM ชนิดติดรถยนต์ 25 วัตต์ จำนวน 6 เครื่อง
4. เครื่องรับส่งวิทยุ ระบบ VHF/FM ชนิดประจำที่ 40 วัตต์ จำนวน 6 เครื่อง
5. เครื่องรับส่งวิทยุ ระบบ VHF/FM ชนิดประจำที่ 60 วัตต์ จำนวน 2 เครื่อง

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 1 ธันวาคม 2552 ถึง - ธันวาคม 2552 ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 11.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักบริหารอนุรักษ์ที่1(ปราจีนบุรี) และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ - ธันวาคม 2552 เวลา - น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ ฝ่ายพัสดุ ส่วนอำนวยการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่1(ปราจีนบุรี) ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-3721-1140ต่อ125 ในวันและเวลาราชการ

Tuesday, November 3, 2009

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ ครุภัณฑ์การเกษตรและครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. เครื่องสูบน้ำเครื่องยนต์เบนซิน สูบน้ำได้ 450 ลิตร/นาที จำนวน 2 เครื่อง วงเงิน17,200 บาท
2.เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 5 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง วงเงิน 126,000 บาท

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 29 ตุลาคม 2552 ถึง 11 พฤศจิกายน 2552 ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น. ณ ฝ่ายพัสดุและอาคารสถานที่ ส่วนอำนวยการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 เวลา 14.00 น. ผู้

สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ได้ที่ ฝ่ายพัสดุและอาคารสถานที่ ส่วนอำนวยการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 สอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-5462-7678 ในวันและเวลาราชการ

กรมทหารช่าง สอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์ 10 เครื่อง

กรมการทหารช่าง สอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์ จำนวน 10 เครื่อง

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ถึง 13 พฤศจิกายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ ห้องประกวดราคาของกรมการทหารช่าง และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ได้ที่ แผนกจัดหากรมการทหารช่าง ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2552 หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-3233-7014 ต่อ 53228 ในวันและเวลาราชการ

Wednesday, October 21, 2009

สถานพยาบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดประมูลซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 300 เควีเอ

สถานพยาบาล มก. มีความประสงค์จะประมูลซื้อ ครุภัณฑ์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 300 เควีเอ พร้อมติดตั้ง จำนวน 1 เครื่อง
โดยการประกวดราคา ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-auction)

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ถึง 2 พฤศจิกายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 12.00 น. ณ งานพัสดุ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี (อาคารสารนิเทศ 50 ปี) ชั้น 3 วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 เวลา 14.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ 300- บาท ได้ที่ งานพัสดุ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี (อาคารสารนิเทศ 50 ปี) ชั้น 3 วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2552 สอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 02-5790113 ต่อ 4307-9 ในวันและเวลาราชการ

Monday, October 12, 2009

เทศบาลตำบลแจ้ห่ม สอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดไม่ต่ำกว่า 15 กิโลวัตต์

เทศบาลตำบลแจ้ห่ม มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. จัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดไม่ต่ำกว่า 15 กิโลวัตต์ เป็นเครื่องยนต์ดีเซล ขนาดที่กำหนดเป็นกิโลวัตต์ ขั้นต่ำ รายละเอียดประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละชุด มีดังนี้
1. แผงสวิตช์ 1 อัน
2. โวลท์มิเตอร์ 1 อัน
3. แอมมิเตอร์ 1 อัน
4. หลอดไฟแสงสว่างพร้อมขั้ว 1 ชุด
5. สวิตช์ปิด – เปิด หลอดไฟ 1 อัน
6. คัตเอาต์ 1 อัน
7. ที่เสียบปลั๊ก 2 จุด
8. ฟรีเควนซีมิเตอร์ 1 อัน
คุณสมบัติทางเทคนิคทั่วไป
1. ไฟ AC 380/220 โวลท์ ชนิด 3 ยก 4 สาย หรือ 220 โวลท์ ชนิด 3 ยก 3 สาย 50 เฮิรตซ์
2. มีเครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (AUTOMATIC VOLTAGE REGULATION CONTROL) โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้- ไม่เกิน +2.5, - 2.5%
3. สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ ไฟฟ้า ที่มีค่า POWER FACTOR ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
4. ส่งกำลังขับโดยตรง (DIRECT COUPLING)
5. สตาร์ทด้วยระบบไฟฟ้า
หมายเหตุ : 1. KVA. = 0.8 KW.จำนวน 1 เครื่อง ตามราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ปี 2552 โดยกำหนดอัตราค่าปรับเป็นร้อยละ 0.10 ของค่าจัดซื้อครุภัณฑ์ตามสัญญาต่อวัน และการเบิกจ่ายแบ่งเป็น 1 งวด เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครุภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น แก่เทศบาลตำบลแจ้ห่มเรียบร้อยแล้ว

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ 600, 400 บาท ได้ที่ กองคลัง สำนักงานเทศบาลตำบลแจ้ห่ม ระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2552 หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0 5427 1595 ในวันและเวลาราชการ

Thursday, October 1, 2009

ร่าง TOR ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ประกวดราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 15-18 กิโลวัตต์ จำนวน 12 เครื่องและ 25 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง

ร่าง TOR ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ประกวดราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 15-18 กิโลวัตต์ จำนวน 12 เครื่อง และชนาด 25 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง วงเงินงบประมาณเบื้องต้น 5,100,000 บาท

ผู้สนใจสามารถเสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับขอบเขตของงานนี้เพิ่มได้ที่ กองจัดหาพัสดุ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ (นางเลิ้ง) โทร. 02-280 0180 -3179

Thursday, September 24, 2009

จังหวัดชลบุรีสอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดไม่น้อยกว่า 300 กิโลวัตต์ สำหรับใช้ที่โรงพยาบาลบ่อทอบ

จังหวัดชลบุรี มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดไม่น้อยกว่า 300 กิโลวัตต์ สำหรับใช้ในราชการที่โรงพยาบาลบ่อทอบ จำนวน 1 รายการ

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 25 กันยายน 2552 ถึง 5 ตุลาคม 2552 ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น. ณ ฝ่ายบริหาร ทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 7 ตุลาคม 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ได้ที่ ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 25 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2552 สอบถามรายละเอียดทางโทรศัพท์หมายเลข 0-3893-2457 ในวันและเวลาราชการ

Thursday, September 17, 2009

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง สอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 100 กิโลวัตต์

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 100 กิโลวัตต์ (ตามมาตรฐานคุณลักษณะของสำนักมาตรฐานงบประมาณ)

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 14 กันยายน 2552 ถึง 29 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 10.00 น. ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 29 กันยายน 2552 เวลา 10.30 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ 100 บาท ได้ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง ระหว่างวันที่ 14 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 28 กันยายน 2552 สอบถามรายละเอียดทางโทรศัพท์หมายเลข 0 75-501 050-3 ในวันและเวลาราชการ

Monday, September 14, 2009

การบินไทย ประกวดราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 เครื่อง

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์จะประกวดราคาซื้อ พร้อมติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองจ่ายฉุกเฉิน จำนวน 2 ชุด เพื่อติดตั้งที่อาคาร 4 ชั้น G สำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย ฯกำหนดชี้แจงรายละเอียด ในวันที่ 13 ตุลาคม 2552 เวลา 10.00 น. ณ แผนกซ่อมบำรุงรักษาระบบสาธารณูปการ อาคาร 4 ชั้น 1 สำนักงานใหญ่ รายละเอียดติดต่อ คุณพลสันติ์ ภิญโญชวาลพงศ์ โทร. 0-2545-1353

กำหนดยื่นประกวดราคาซื้อในวันที่ 27 ตุลาคม 2552 ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 11.00 น. ณ ห้องประชุมเปิดซอง (1) อาคาร 3 ชั้น 4 สำนักงานใหญ่ และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประกวดราคาซื้อ ในราคาชุดละ 500.00 บาท ได้ที่ แผนกรับจ่ายเงิน อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักงานใหญ่ และให้นำใบเสร็จรับเงินไปแสดงเพื่อรับแบบได้ที่ศูนย์บริการงานจัดซื้อ อาคาร 3 ชั้น 1 สำนักงานใหญ่ ในเวลา 09.00-12.00 น. และเวลา 13.00-16.00 น. (เว้นวันหยุดราชการ) ระหว่างวันที่ 25 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2552 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2545-3250 ติดต่อคุณธีรพล วรนุช ในวันและเวลาราชการ

Sunday, September 13, 2009

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต สอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 150 กิโลวัตต์ 1 เครื่อง

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 150 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 8 กันยายน 2552 ถึง 17 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น. ณ งานพัสดุ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 18 กันยายน 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ งานพัสดุ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งภูเก็ต ระหว่างวันที่ 8 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 17 กันยายน 2552 หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 076-219330 ในวันและเวลาราชการ

Wednesday, September 9, 2009

อบจ.สระแก้ว ประมูลซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 400 เควีเอ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว มีความประสงค์จะประมูลซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า 320 กิโลวัตต์ 400 เควีเอพร้อมอุปกรณ์ เพื่อใช้ในราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 28 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 11.00 น. ณ ห้องประชุมสระขวัญ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ 30 กันยายน 2552 เวลา 15.30 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ กองคลัง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 18 กันยายน 2552 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทางโทรศัพท์หมายเลข 0-3724-2441-3 ต่อ 109-111 ในวันและเวลาราชการ

Friday, September 4, 2009

กรมชลประทานสอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 100kVA และ 15 kVA

กรมชลประทาน โดย สำนักงานก่อสร้าง 1 (โครงการปรับปรุงฯ ลำปาว) จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ

1. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง ขนาด 100 กิโลโวลท์แอมป์ พร้อมชุดควบคุมและอุปกรณ์ประกอบครบชุด ตามรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Specifications) ที่กรมชลประทานกำหนด จำนวน 1 เครื่อง
2. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง ขนาด 15 กิโลวัตต์ โวลท์แอมป์ พร้อมชุดควบคุมและอุปกรณ์ประกอบครบชุด ตามรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Specifications) ที่กรมชลประทานกำหนด จำนวน 2 เครื่อง

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 4 กันยายน 2552 ถึง 14 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30 น. น. ถึง 16.30 น. น. ณ งานพัสดุสำนักงานก่อสร้าง 1 (โครงการปรับปรุงฯ ลำปาว) ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 17 กันยายน 2552 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ งานพัสดุสำนักงานก่อสร้าง 1 (โครงการปรับปรุงฯ ลำปาว) ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 14 กันยายน 2552 สอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0- 4381-3874 ต่อ 12 ในวันและเวลาราชการ

จังหวัดสมุทรสงครม สอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200kVA 1 เครื่อง

จังหวัดสมุทรสงคราม มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า 200 KVA พร้อมติดตั้ง จำนวน 1 เครื่อง

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 4 กันยายน 2552 ถึง 28 กันยายน 2552 ณ งานพัสดุ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 29 กันยายน 2552 เวลา 15.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ได้ที่ งานพัสดุ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า 708 ถนนประสิทธิ์พัฒนา ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 28 กันยายน 2552 หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0 3472 3044-9 ต่อ 3106-7 ในวันและเวลาราชการ

Wednesday, September 2, 2009

โรงพยาบาลสตึก สอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 300 กิโลวัตต์

โรงพยาบาลสตึก มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 300 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 16 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น. ณ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสตึก และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 17 กันยายน 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสตึก ระหว่างวันที่ 2 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ - หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 044-681280 ต่อ 125 ในวันและเวลาราชการ

Monday, August 31, 2009

เทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์ สอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 25 กิโลวัตต์

เทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์ มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 25 กิโลวัตต์ 1 เครื่อง

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 31 สิงหาคม 2552 ถึง 14 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ กองคลัง เทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์ และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 15 กันยายน 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ 500 บาท ได้ที่ กองคลัง เทศบาลตำบลพระสมุทรเจดีย์ ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม 2552 ถึงวันที่ 14 กันยายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.phrasamutjedee.go.th หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-24258014-8 ต่อ 14,15 ในวันและเวลาราชการ

Thursday, August 27, 2009

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 80 กิโลวัตต์พร้อมติดตั้ง 1 เครื่อง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า 80 กิโลวัตต์ พร้อมติดตั้ง จำนวน 1 เครื่อง

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 27 สิงหาคม 2552 ถึง 7 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ ฝ่ายอำนวยการ 3 (พัสดุ) กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 10 กันยายน 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ได้ที่ ฝ่ายอำนวยการ 3 (พัสดุ) กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ระหว่างวันที่ 27 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2552 หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2287 3101-10 ต่อ 2221 หรือหมายเลข 0 2287 3124 ในวันและเวลาราชการ

Monday, August 24, 2009

กรมสอบสวนคดีพิเศษประกวดราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 kVA

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ประกาศร่าง TOR ฉบับที่ 1
ชื่อเรื่อง ประกวดราคาซื้อครุภัณฑ์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 KVA (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
วงเงินงบประมาณเบื้องต้น 4,137,200 บาท
วงเงินราคาสูงสุดที่พึงรับได้ 4,137,200 บาท

วันสิ้นสุดประกาศและรับฟังคำวิจารณ์ 23 สิงหาคม 2552

Friday, August 21, 2009

การรถไฟแห่งประเทศไทย ประกวดราคาซื้อ alternator

การรถไฟแห่งประเทศไทย มีความประสงค์จะประกวดราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล “PERKINS” Model 1006 - 6 TG จำนวน 1 รายการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) 9 Units Nishinihon Generator (Alternator Complete) 80 KVA., 64 KW.,3 Phase, 380/220 V., 121.5 A., 50 Hz. Ball Bearing No.6313-2ZModel BET-100 (ตามรายการละเอียดของการรถไฟฯ)

กำหนดยื่นประกวดราคาซื้อในวันที่ 22 กันยายน 2552 ถึง 22 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 10.30 น. ณ ห้องเปิดซองประกวดราคา ชั้น 2 อาคารที่ทำการฝ่ายการพัสดุ ถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตรองเมือง กรุงเทพ และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 22 กันยายน 2552 เวลา 10.35 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประกวดราคาซื้อ ในราคาชุดละ 500.00 บาท ได้ที่ งานจัดจ้าง กองการจัดหาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และบริหารสัญญา ฝ่ายการพัสดุ ชั้น 2 ห้อง 213 อาคารที่ทำการฝ่ายการพัสดุ ถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 2 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 10 กันยายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.railway.co.th หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2220-4669 หรือ 0-2220-4567 ต่อ 5152 ในวันและเวลาราชการ

Thursday, August 20, 2009

จังหวัดชุมพรสอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 300 กิโลวัตต์ ครั้งที่ 3

จังหวัดชุมพร มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ โดยมีรายละเอียดดังนี้
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 300 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง สำหรับโรงพยาบาลสวี วงเงินในการจัดซื้อ 1,500,000บาท

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 9 กันยายน 2552 ถึง 9 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30น. น. ถึง 16.00 น. น. ณ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสวี และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 10 กันยายน 2552 เวลา 10.30น. น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสวี ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม 2552 ถึงวันที่ 8 กันยายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ - หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 077531206 ต่อ 102 ในวันและเวลาราชการ

Wednesday, August 19, 2009

การคำนวณขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กรณีโหลดเป็น UPS

การคำนวณหาขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในกรณีที่มี static UPS เป็นโหลดด้วย มีอยู่ 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. หาขนาด UPS input (kW) จากข้อมูลที่ผู้ขาย UPS ให้มา ในกรณีที่ผู้ขายไม่มีข้อมูลดังกล่าวให้ สามารถคำนวณหาค่า UPS input (kW) ได้คร่าว ๆ ค่าโดยประมาณ จากสูตร

UPS input (kW) = (UPS output (kW) + Battery Recharge (kW)) / UPS effiency

โดย UPS output (kW) = โดยทั่วไป UPS สำหรับโหลดคอมพิวเตอร์ จะให้ค่า UPS output เป็นหน่วย kVA ซึ่งสามารถหาค่า UPS output (kW) ได้จาก นำค่า UPS output (kVA) คูณด้วย 0.9

Battery Recharge (kW) = โดยทั่วไปมีค่าอยู่ในช่วง 0-25% ของ UPS input (kW) ในกรณีที่ไม่ทราบให้ใช้ค่าประมาณ 25% ของ UPS output (kW)

UPS effiency = ถ้าไม่ทราบ ให้ใช้ค่าดังนี้ ใช้ = 0.85 ถ้า UPS < 100 kW.
= 0.875 ถ้า UPS > 100 kW แต่ < 500 kW.
= 0.90 ถ้า UPS > 500 kW.

2. คำนวณหาขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กที่สุดที่สามารถรองรับการผิดเพี้ยนของ waveform ได้
สำหรับ UPS 6-pulse rectifier/charger: คำนวณหา standby rated ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า = UPS
input kW คูณด้วย 1.6
สำหรับ UPS 12-pulse rectifier/charger: คำนวณหา standby rated ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า = UPSinput kW คูณด้วย 1.4

3. หาขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เหมาะกับโหลดอื่น ๆ โดย ค่าต่ำสุดของ standby generator rating กับโหลดอื่น
= (UPS input kW x K) + kW ของโหลดอื่น ๆ เมื่อ K= 1.15 สำหรับ 6-pulse rectifier/charger. และค่า K = 1.10 สำหรับ 12-pulse rectifier/charger.

4. เปรียบค่าที่ได้จากข้อ 2 และข้อ 3 และเลือกนำเอาค่าที่มีค่ามากที่สุดมาใช้ในการกำหนดขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

อบจ.ชลบุรี ประมูลจ้างก่อสร้าง รพ.เกาะจันทร์

องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีความประสงค์จะประมูลจ้างก่อสร้าง โรงพยาบาลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้

เป็นค่าก่อสร้างโรงพยาบาลเกาะจันทร์ ประกอบด้วย งานอาคารผู้ป่วยนอก ขนาด 30 เตียง , งานอาคารผู้ป่วยในขนาด 30 เตียง , งานอาคารโรงรถ - พัสดุ - ซักฟอก, งานอาคารโรงอาหาร - ครัว - พัสดุ งานบ้านพักข้าราชการระดับ 5 - 6 , งานบ้านพักข้าราชการ ระดับ 7 - 8 , งานอาคารพักพยาบาล 24 ห้อง (12 ครอบครัว) , งานอาคารโรงนึ่งกลาง , งานหอถังสูง , งานอาคารโรงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า , งานเสาธงสูง 20.00 เมตร , งานป้อมยามริมถนน (มีห้องน้ำ) , งานประตูรั้ว - ป้ายชื่อ ตามแบบกระทรวงสาธารณสุข ตั้งไว้ 10,000,000.- บาท ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายปีถัดไป จำนวน 43,480,000.- บาท ราคากลางของค่าก่อสร้างฯ ในการประมูลจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้เป็นเงินทั้งสิ้น 53,480,000.- บาท (ห้าสิบสามล้านสี่แสนแปดหมื่นบาทถ้วน)

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 7 กันยายน 2552 ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 10.30 น. ณ ห้องพระรักษาเทพ ศาลากลางจังหวัดชลบุรี และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ 8 กันยายน 2552 เวลา 15.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลจ้างก่อสร้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ 50,000.- บาท ได้ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม 2552 ถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2552 สอบถามรายละเอียดได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 038 - 455921 ในวันและเวลาราชการ

Tuesday, August 18, 2009

Permanent Magnet (PMG) คืออะไร

โดยปกติระบบ Excitation ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะมี 2 แบบซึ่งในที่นี้จะอธิบายโดยย่อ ดังนี้

1. แบบ Self excited จะรับ power ในการ excitation จาก generator armature (generator output) โดยจะอาศัยอำนาจแม่เหล็กจำนวนเล็กน้อย ที่ตกค้างจากการทำให้เป็นแม่เหล็กในครั้งก่อน (residual magnetism) ไปตัดขดลวด และจะกระตุ้นให้เกิดแรงดัน AC ผ่านวงจร full wave bridge rectifier ให้เป็นไฟ DC แล้วนำไฟ DC ที่ได้นี้ป้อนกลับเข้าไปใน main field เพื่อเพิ่มอำนาจแม่เหล็กเดิมให้มากขึ้น ซึ่งจะวนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว จนกระตุ้นถึงแรงดันที่ต้องการ (ดังนั้นแม่เหล็กดังกล่าวจะเป็นแม่เหล็กชั่วคราวซึ่งได้จากการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า)

2. แบบ Permanent Magnet หรือ PMG จะต่างกับแบบ self excited ตรงที่จะรับ power ในการ excitation จาก pilot excitor แทนที่จะรับจาก main armature ซึ่ง pilot excitor นี้ทำจากแม่เหล็กถาวรทำให้สามารถทำงานได้อิสระโดยไม่จำเป็นต้องพึ่ง generator output voltage เหมือนกรณีของ Self excited

ข้อดีของระบบ excitation แบบ PMG คือ
1. สามารถทนต่อฮาร์โมนีคโหลดได้ดีกว่าแบบ self excited
2. สามารถทนต่อกระแส short circuit ได้ถึง 300% เป็นเวลา 10 วินาที

โดยทั่วไปเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก มาตรฐานจากโรงงานจะใช้ระบบ excitation เป็นแบบ self excited
แต่หากต้องการเป็นแบบ PMG ก็สามารถทำได้ ซึ่งจะเป็น option ของทางผู้ขาย

แต่สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ ๆ PMG จะเป็นมาตรฐานมาจากโรงงานเลย ซึ่งทาง Cummins ได้ให้ข้อมูลมาว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดมากกว่า 800 kVA มาตรฐานจะเป็นแบบ PMG ทั้งหมดครับ

ขอขอบคุณบทความจาก Cummins Diethelm ครับ

Friday, July 31, 2009

ศูนย์รักษาความปลอดภัย ประมูลซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 300 กิโลวัตต์ พร้อมชุดอุปกรณ์เชื่อมโยง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

ศูนย์รักษาความปลอดภัย มีความประสงค์จะประมูลซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 300 กิโลวัตต์ พร้อมชุดอุปกรณ์เชื่อมโยง จำนวน 1 ระบบ

- ราคากลางประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้ เป็นจำนวนเงิน 2,527,000.-บาท

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2552 ถึง 19 สิงหาคม 2552 ระหว่างเวลา 10.00 น. น. ถึง 11.00 น. น. ณ ห้องประชุม กอง 11 ศูนย์รักษาความปลอดภัย เลขที่ 17 ซอยรามอินทรา 2/1 ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ 21 สิงหาคม 2552 เวลา 09.00 น. น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ แผนกพลาธิการ กอง 11 ศูนย์รักษาความปลอดภัย เลขที่ 17 ซอยรามอินทรา 2/1 ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 4 สิงหาคม 2552 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.schq.th หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2971 5427 ในวันและเวลาราชการ

Wednesday, July 22, 2009

แนะนำการคำนวณหาขนาดของถังน้ำมัน

จากบทความที่ผมโพสต์ก่อนหน้า เกี่ยวกับความจุของถังน้ำมัน ซึ่งไม่ควรออกแบบให้มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น ดังนั้นในที่นี้ผมขอแนะนำสูตรในการคำนวณหาความจุของถังน้ำมัน ดังนี้
ความจุของถังน้ำมัน = อัตราการกินน้ำมันเชื้อเพลิงที่ 100% Load x เวลาที่ใช้ในการจัดหาน้ำมันมาเติม x 1.1
(ตัวเลข 1.1 มาจากต้องเผื่อพื้นที่การขยายตัวของน้ำมัน 5% และตะกอนก้นถัง 5%)

ตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 500 เควีเอ กินน้ำมันเชื้อเพลิง 100 ลิตร/ชั่วโมง ที่ 100% Load และคาดว่าจะต้องใช้เวลาในการเติมน้ำมัน 12 ชั่วโมง ( 7 โมงเช้าถึงหนึ่งทุ่ม หาน้ำมันไม่ได้ก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว)
ดังนั้น ความจุของถังน้ำมัน = 100 x 12 x 1.1 = 1320 ลิตร
ปัดขึ้นให้เป็นตัวเลขกลม ๆ ดังนั้นควรเลือกถังน้ำมันขนาด 1,500 ลิตร เป็นต้น

ถังน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าควรมีขนาดเท่าไหร่

จากสเปคของผู้ออกแบบหลาย ๆ งานส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดให้จัดถังน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีความจุอย่างน้อย 8 ชั่วโมงสำหรับการเดินเครื่องที่ Full Load ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีผู้ออกแบบบางรายระบุให้สำรองได้ 12 ชั่วโมง, บางราย 24 ชั่วโมง (ซึ่งอันหลังนี้เริ่มจะเกินปกติแล้วครับ) ยังไม่พอครับบางรายให้สำรองได้ 48 ชั่วโมง

ซึ่งสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตัวเล็ก ๆ แล้วก็จะไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไหร่ แต่ถ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ เช่นขนาด 1000 เควีเอ
หากต้องการสำรองน้ำมันให้เพียงพอใช้งานได้ 48 ชั่วโมงแล้วหล่ะก็ ต้องจัดถังน้ำมันขนาดประมาณ 10,000 ลิตร และการติดตั้งถังน้ำมันขนาดที่มีขนาด 10,000 ลิตรขึ้นไปต้องมีการขออนุญาตด้วยครับ นอกจากจะยุ่งยากแล้วผมเกรงว่าจะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

ท่านลองคิดดูจำนวนเงินที่อยู่ในถังน้ำมันสิครับ (ราคาน้ำมันดีเซลปัจจุบันประมาณลิตรละ 27 บาท) ก็เท่ากับว่าเอาเงิน 270,000 บาท วางไว้ในถังน้ำมันเฉย ๆ แล้วยิ่งใช้สำหรับการสำรองฉุกเฉิน (Standby) ด้วยแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะปี ๆ หนึ่งท่านอาจใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ถึง 10 ชั่วโมง แต่ท่านมีน้ำมันสำรองไว้ถึง 48 ชั่วโมง แล้วปริมาณน้ำมันที่เหลือนั้น หากเก็บไว้นานน้ำมันดีเซลอาจมีการเสื่อมสภาพได้ ซึ่งผู้ผลิตบางราย เช่น Caterpillar แนะนำว่าไม่ควรเก็บน้ำมันดีเซลไว้เกินกว่า 1 ปี

ดังนั้นสรุปข้อเสียของการมีถังน้ำมันขนาดใหญ่ (เพียงเพื่อขี้เกียจเติมน้ำมันบ่อย ๆ )
1. ถ้าเกินกว่า 10,000 ลิตร ต้องมีการขออนุญาต
2. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการสต๊อกน้ำมัน รวมถึงค่าถังน้ำมันและการติดตั้งที่แพงกว่าปกติมาก
3. น้ำมันอาจเสื่อมสภาพ เนื่องจากเก็บไว้นานโดยไม่ได้ใช้งาน

อย่ากลัวเลยครับว่าจะเติมน้ำมันไม่ทัน เพราะจากประสบการณ์ของผมที่ผ่านมาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองใช้งานต่อปีมักจะใช้งานไม่ถึง 30 ชั่วโมง หรือเทียบง่าย ๆ ว่า 6 เดือนใช้ไม่ถึง 15 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นก็ลองพิจารณาดูนะครับว่าควรจะออกแบบถังน้ำมันให้มีขนาดเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับการใช้งานในหน่วยงานของท่าน

Monday, July 20, 2009

ภาพบรรยากาศงานสัมมนาของคัมมิ่นส์ ดีทแฮล์ม

หลังจากที่ผมได้เข้าร่วมงานสัมมนาที่บริษัท คัมมิ่นส์ ดีทแฮล์ม จัดขึ้นที่โรงแรม อมารี บูเลอวาร์ด สุขุมวิท ซอย 5 วันนี้ ผมได้รับภาพจากทางคัมมิ่นส์ที่ส่งมาให้ทางอีเมล์ ซึ่งผมก็ยินดีที่จะประชาสัมพันธ์ให้ครับ


บรรยากาศแสดงผู้ที่สนใจเข้าร่วมการสัมมนาของคัมมิ่นส์ ดีทแฮล์ม


ภาพนี้เป็นภาพตอนเปิดงานโดยคุณอภิเชษฐ บรรลือนุชรี

คุณวรพจ อินชูโต แนะนำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของคัมมิ่นส์


คุณสุวิชัย เดชะรัตนางกูร กล่าวถึงโรงงานของคัมมิ่นส์ทั่วโลก และเปิดตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่นใหม่


พักเบรคทานอาหารว่างพร้อมนำชมเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่นใหม่ ในตู้ครอบเครื่องแบบเก็บเสียง


บรรยากาศตอนชมเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่นใหม่ติดเครื่องลองฟังความดังของเสียง


คุณอธิพล อินทรารุณ กล่าวถึงโปรแกรมคำนวณหาขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ Program Sizing Genset นั่นเอง



คุณพิพัฒน์ มณีรัตนประเสริฐ นำเสนอเกี่ยวกับอะไหล่ของคัมมิ่นส์ และชุดกรองดักน้ำจากน้ำมัน


เบรครับประทานอาหารกลางวัน แหม อันนี้ชอบมาก



หลังรับประทานก็ถึงคิวคุณแอนเดอร์สัน ลิม นำเสนอเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามมาตรฐานของ Cummins


แจกเอกสารและของที่ระลึกก่อนกลับ อันนี้ผมก็ช๊อบ ชอบครับ


ภาพทีมงานคัมมิ่นส์ ดีทแฮล์ม

ขอขอบคุณ คุณอภิเชษฐ บรรลือนุชรี ผู้เอื้อเฟื้อภาพถ่ายพร้อมรายละเอียดครับ

Thursday, July 16, 2009

ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar ขนาด 50 เควีเอ จากไหนดี

ปัจจุบันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar ขนาด 50 เควีเอ ไม่มีจำหน่ายแล้วครับ จะมีแต่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Olympian ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ Caterpillar เช่นกัน แต่ใช้เครื่องยนต์ Perkins ประกอบกับอัลเตอร์เนเตอร์ Leroy Somer อันเนื่องมาจากปัจจุบัน Caterpilllar อาจกล่าวได้ว่าเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ Perkins เช่นกัน แต่เดิมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก Caterpillar จะใช้เครื่องยนต์ Caterpillar รุ่น 3054 หรือ 3056 ประกอบจำหน่าย ซึ่งเครื่องยนต์ตระกูลนี้มีผลทำให้ Caterpillar เสียเปรียบคู่แข่งในเรื่องของราคาเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปัจจุบัน Caterpillar จึงได้เลิกผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์ Caterpillar ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก และได้หันมาใช้เครื่องยนต์ Perkins แทน ซึ่งทำให้สามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น และปัจจุบัน Caterpillar ก็ได้ขยาย range ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Olympian ออกไป คือมีขนาดตั้งแต่ 9.5-750 เควีเอ (standby) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Caterpillar หันมาทำการตลาดผลิตภัณฑ์ แยกออกเป็น 2 brand เพราะปัจจุบันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar ที่ใช้เครื่องยนต์ Caterpillar จะเริ่มตั้งแต่ขนาด 300 เควีเอ (standby rating) ขึ้นไป จนถึง 3100 เควีเอ

จะเห็นว่ามีช่วง range ที่ทับซ้อนกันอยู่ในขนาด 300-750 เควีเอ ซึ่งมีทั้งสอง brand ให้เลือกระหว่าง Olympian กับ Caterpillar โดยผมมองว่า brand Caterpillar จะเป็น brand premium สำหรับมาจับกลุ่มลูกค้าตลาดบน และนำ brand Olympian มาแข่งกับตลาดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าราคาประหยัดของ local

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกลายเป็นประเด็นเหมือนกันครับ ยกตัวอย่างบางครั้งผู้ออกแบบ ออกแบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 100 เควีเอ แต่ลง vendor ยี่ห้อไว้ว่า Caterpillar, Cummins, Kohler, Mitsubishi เป็นต้น ก็จะทำให้มีปัญหากันภายหลังเพราะขนาด 100 เควีเอดังกล่าวไม่มียี่ห้อ Caterpillar มีแต่ Olympian ครับ

Wednesday, July 15, 2009

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประมูลซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 60kW (75 kVA) จำนวน 33 เครื่อง

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีความประสงค์จะประมูลซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดไม่น้อยกว่า 60 กิโลวัตต์ จำนวน 33 เครื่อง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 ระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 10.00 น. ณ ห้องเปิดซอง บริเวณทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร 1 และ อาคาร 2 ชั้น 4 และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ - กรกฎาคม 2552

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ 2,140.- บาท ได้ที่ แผนกบริหารงานทั่วไป กองจัดหาในประเทศ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม 2552 ถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.pea.co.th หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 02-590-5315 ในวันและเวลาราชการ

Friday, July 10, 2009

จังหวัดชุมพรสอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 300 กิโลวัตต์

จังหวัดชุมพร มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 300 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง วงเงิน 1,500,000บาท สำหรับโรงพยาบาลสวี

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 ถึง 23 กรกฎาคม 2552 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.00 น. ณ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสวี และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 24 กรกฎาคม 2552 เวลา 10.30เป็นต้นไป น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสวี ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-7753-1206 ในวันและเวลาราชการ

การต่อใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล

ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์การต่อใบขับขี่รถยนต์ ถึงแม้จะไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในบล็อกนี้เลยก็ตาม แต่ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ครับ โดยเมื่อวานนี้ผมไปต่อใบขับขี่รถยนต์ที่ขนส่งจตุจักรหลังจากที่ใบขับขี่รถยนต์หมดอายุในวันที่ 8 กรกฎาคม 2552 ก่อนไปต่อใบขับขี่ผมก็หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตก่อนว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรไปบ้าง เพื่อจะได้ไปโดยไม่เสียเที่ยว ซึ่งจากข้อมูลที่ได้ คือต้องเตรียม สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน รูปถ่าย อย่างละ 2 ชุด และใบรับรองแพทย์

แต่ปรากฏว่าเอกสารที่ใช้จริง ๆ คือ ใช้เพียงสำเนาบัตรประชาชนใบเดียวครับ (แต่ผมได้แนบใบขับขี่ใบเดิมที่หมดอายุแล้วไปด้วย แต่อันนี้ผมไม่ทราบครับว่าถ้าไม่นำใบขับขี่เดิมไปจะทำได้หรือเปล่า) ซึ่งผมเดินทางไปถึงประมาณบ่ายโมงครึ่ง และในวันนี้ก็มีคนมาต่อใบขับขี่เยอะมาก อาจเป็นเพราะเพิ่งผ่านวันหยุดราชการมาหลายวัน ของผมจะเป็นการต่อใบขับขี่จาก 5 ปี ต่อ 5 ปีครับ พอไปถึงอาคาร 4 ชั้นล่าง พนักงานก็จัดเอกสารเตรียมให้แล้วก็ให้ขึ้นไปที่ชั้นสาม (ต้องเขียนชื่อและนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ในสำเนาบัตรประชาชนด้วยครับ ถ้าเขียนไม่ได้เจ้าหน้าที่ก็จะช่วยเขียนให้) ซึ่งที่ชั้นสามนี้จะมีการทดสอบ 3 ด่าน

ด่านแรก เป็นการทดสอบการดูสี เจ้าหน้าที่จะจิ้มสีต่าง ๆ แล้วให้เราตอบให้ถูกต้อง
ด่านที่สอง เป็นการทดสอบปฏิกิริยาการตอบสนองเมื่อเห็นสัญญาณไฟ ลักษณะจะให้ผู้ทดสอบเหยียบคันเร่งไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นสัญญาณไฟแดงให้รีบเหยียบเบรคทันที โดยต้องได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
หลังจากนั้น ก็จะเป็นการทดสอบการมองเห็นโดยมีเสาสองต้น ต้นหนึ่งอยู่กับที่ เสาอีกต้นหนึ่งขยับได้โดยการกดปุ่ม มีปุ่มสีแดงกับ สีเขียว โดยกดปุ่มสีแดงให้เสาถอยหลังไปก่อน หลังจากนั้นกดเสาสีเขียวเพื่อให้เสาเดินหน้ามาตรงกับเสาที่อยู่กับที่ โดยต้องได้ตามระยะที่กำหนด
ด่านที่สาม จะเป็นการทดสอบการมองเห็นภาพกว้าง โดยจะมีอุปกรณ์ให้ผู้ทดสอบเพ่งตรงไปที่จุดข้างหน้า แล้วเจ้าหน้าที่จะเปิดไฟซึ่งอยู่ด้านข้างสีต่าง ๆ แล้วให้ผู้ทดสอบตอบให้ตรง

หลังจากทดสอบเสร็จแล้วก็ขึ้นไปที่ชั้น 4 เพื่อดูวิดีโอซึ่งจะเป็นละครเกี่ยวกับการขับขี่รถยนต์เพื่อความปลอดภัย (เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง) ไม่น่าเบื่อครับ เพราะเป็นละคร แต่ติดหน่อยตรงที่เปิดเสียงเบาไปนิดไม่ค่อยได้ยิน (มี Subtitle เป็นภาษาอังกฤษด้วยครับ ทันสมัยไม่เบา)

หลังจากนั้นค่อยลงมารับบัตรคิวชำระเงินที่ชั้นล่าง 505 บาท และถ่ายรูปรับบัตรอีก 100 บาท รวมแล้ว 605 บาทครับ (ถ่ายรูปรับบัตรไม่เกิน 5 นาที แต่รอคิวนาน) เป็นอันเสร็จขั้นตอนการต่อใบขับขี่ครับ ผมได้รับใบขับขี่ประมาณ 16.30 น. รวมเวลาแล้วก็ 3 ชั่วโมง ซึ่งถ้าไม่หยุดราชการมาหลายวัน และวันนี้ระบบคอมพิวเตอร์ค่อนข้างช้า ผมคิดว่าน่าจะเสร็จเร็วกว่านี้ครับ

โดยภาพรวมแล้วผมพอใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มาก ๆ ครับ เพราะการบริการเยี่ยมเหมือนกับไม่ได้มาติดต่อราชการเลยครับ พนักงานยิ้มแย้มเกือบทุกคน (Service mind) ผิดกับภาพสมัยวัยเด็กที่ผมไปติดต่อราชการทำบัตรประชาชนไปแต่เช้ากว่าจะเสร็จก็ 4 โมงเย็นไปอยู่ที่อำเภอทั้งวัน แถมไม่ได้บัตรประชาชนด้วยได้แต่ใบเหลือง อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่อีกอย่างก็คือระบบราชการที่มีการปรับปรุงให้ก้าวหน้าด้วยครับ

ตัวแทนจำหน่ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar

ตัวแทนจำหน่ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar คือ บริษัท เมโทรแมชีนเนอรี่ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปีแล้ว มักนิยมเรียกกันสั้น ๆ ในวงการว่า เมโทรแคต หลาย ๆ ท่านอาจเคยใช้บริการกันแล้ว โดย เมโทรแคต มีการเปลี่ยนเบอร์โทรของบริษัทมาเมื่อ 2-3 ปีมานี้เอง สำหรับท่านที่มีเบอร์โทรเก่า ก็อัพเดท ที่อยู่ และเบอร์โทรติดต่อ ตามด้านล่างนี้เลยครับ

บริษัท เมโทรแมชีนเนอรี่ จำกัด
1760 ถนนสุขุมวิท บางจาก
พระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 02-742-8000, 02-742-9000
แฟกซ์. 02-742-7965

ซึ่งปัจจุบัน คุณประทีป ปรีชาธวนิชย์ เป็นผู้จัดการฝ่ายขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ครับ

Friday, July 3, 2009

คำแนะนำในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม

เนื่องจากพระราชกฤษฎีกากำหนดพลังงานควบคุม พ.ศ.2536 (ออกตามพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535) กำหนดให้พลังงานไฟฟ้าซึ่งมีขนาดการผลิตรวมของแต่ละแหล่งผลิตตั้งแต่ 200 กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป เป็นพลังงานควบคุม

และเนื่องจากพระราชกฤษฎีกากำหนดประเภท ขนาด และลักษณะของกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2552 (ออกตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550) กำหนดให้กิจการผลิตไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตรวมของแต่ละแหล่งผลิตต่ำกว่าหนึ่งพันกิโลโวลต์แอมแปร์จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.)

ดังนั้นผู้ที่มีการผลิตไฟฟ้าซึ่งมีขนาดการผลิตรวมของแต่ละแหล่งผลิตตั้งแต่ 200 กิโลโวลต์แอมแปร์ถึง 999 กิโลโวลต์แอมแปร์จะต้องยื่นขออนุญาตกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 (อาคาร 6 ชั้น 7)โทร 0 2226 1827, 0 2226 1379 โทรสาร 02 225 9739

และกิจการผลิตไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตรวมของแต่ละแหล่งผลิตตั้งแต่หนึ่งพันกิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไปจะต้องยื่นขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 19 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร 0 2207 3599 ต่อ 621 โทรสาร 0 2207 3502

และขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก คุณสุมิตรด้วยครับ (sumit_y@dede.go.th)

Thursday, July 2, 2009

คัมมิ่นส์ เปิดตัวเครื่องยนต์รุ่น X3.3

หลังจากที่วันนี้ผมได้เข้าไปร่วมงานสัมมนาที่ บริษัท คัมมิ่นส์ ดีทแฮล์ม จำกัด ได้จัดขึ้นที่โรงแรม อมารี บูเลอวาร์ด สุขุมวิท ซอย 5
ภายในงานจะมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานของคัมมิ่นส์ และผลิตภัณฑ์เครื่องยนต์รุ่นใหม่ คือรุ่น X3.3 ซึ่งจะใช้สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสองรุ่นคือ รุ่น C33 D5 (ขนาด 33 เควีเอ) และรุ่น C38 D5 (ขนาด 38 เควีเอ)

โดยงานนี้บริษัท คัมมิ่นส์ ได้นำเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่น C33 D5 ซึ่งติดตั้งภายในตู้ครอบเครื่องแบบเก็บเสียง (ระดับความดังของเสียงไม่เกิน 75 เดซิเบลที่ระยะ 1 เมตร) มา Demo สตาร์ทเพื่อให้ลองสัมผัสกับประสิทธิภาพและการทำงานของเครื่อง

ซึ่งทางผู้จัดให้ข้อมูลว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รุ่นดังกล่าวเสียงเงียบ เคลื่อนย้ายได้สะดวก บำรุงรักษาได้ง่าย และมีการใช้ชุดควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารุ่นใหม่ด้วย ซึ่งงานนี้ผมประทับใจมากครับโดยเฉพาะเรื่องอาหาร

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการนำเสนอชุดกรองน้ำมันดักน้ำก่อนที่จะนำน้ำมันมาผ่านไส้กรองจริง ซึ่งน่าสนใจมาก และนอกจากนี้ในช่วงบ่ายก็มีเจ้าหน้าที่ของคัมมิ่นส์จากสิงคโปร์มาอธิบายถึงข้อแนะนำสำหรับการติดตั้งอีกด้วย เห็นทางทีมงานคัมมิ่นส์อีเมล์มาแจ้งว่ายินดีจะส่งภาพบรรยากาศภายในงานมาให้ชมกันด้วย ซึ่งผมยินดีที่จะนำภาพดังกล่าวมาลงในเว็บไซต์นี้ครับ

Tuesday, June 30, 2009

การขนาน (Synchronize or Paralleling) เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถนำมาเดินขนานกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือกับไฟหลวงได้ แต่ก่อนที่แหล่งกำเนิดไฟฟ้าสองแหล่งจะขนานกันได้นั้น ชุดควบคุมการขนานจะต้องเช็คโวลท์ ความถี่ และ phase shift ให้ตรงกันเสียก่อนที่จะสับให้ไฟเข้ามาขนานกันเพื่อจ่ายโหลดต่อไป ซึ่งลักษณะของการ Sync นั้น โดยทั่ว ๆ ไปมักจะเรียกกันวงการว่า sync ขาไป กับ sync ขากลับ

sync ขาไป หมายถึง สถานการณ์ที่ทราบแล้วว่าไฟหลวงจะดับ ดังนั้นจึงสั่งสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแล้วนำไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานเข้ากับไฟหลวงก่อนที่ไฟจะดับ ซึ่งเมื่อไฟหลวงดับไปแล้วแต่ก็ยังมีไฟจากเจนคอยจ่ายให้กับโหลดอยู่นั่นเอง (สังเกตว่าลักษณะการทำงานเช่นนี้จะไม่มีไฟขาดหายไปเลย) หรืออาจจะเป็นลักษณะของการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกันก่อนแล้วขนานกับไฟหลวงอีกทีก็ได้ ตัวอย่างการใช้งานเช่นนี้พบได้มากในยุคที่ราคาของน้ำมันดีเซลยังราคาถูก ก็จะเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจ่ายไฟให้กับโหลดเพื่อตัดพีคของการไฟฟ้า แต่ในปัจจุบันราคาน้ำมันดีเซลสูงเกินกว่าที่จะเดินเครื่องเพื่อตัดพีคแล้ว

sync ขากลับ หมายถึง สถานการณ์ที่ไฟดับไปแล้ว และใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจ่ายไฟให้กับโหลดอยู่ และหลังจากที่ไฟหลวงกลับมาก็จะนำไฟหลวงมาขนานเข้ากับไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก่อน แล้วจึงค่อยปลดไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออก (สังเกตว่าลักษณะเช่นนี้ก็จะไม่มีไฟขาดหายไปเช่นกัน)

ซึ่งหน่วยงานที่ต้องการใช้งานประเภทนี้จะค่อนข้างซีเรียสเรื่องการขาดหายไปของไฟหรือการเกิดไฟกระพริบในช่วงเวลา transfer แหล่งจ่าย โดยค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ควบคุมการขนานนั้นค่อนข้างราคาสูง ในปัจจุบันต้องมีงบประมาณไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท สำหรับตู้ควบคุมการ sync

Friday, June 26, 2009

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจ่ายไฟได้ภายในเวลาเท่าใด

โดยปกติเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองมักจะติดตั้งควบคู่กับระบบสวิตซ์สลับทางไฟฟ้าอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อเวลาไฟดับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะทำงานอัตโนมัติ ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 8-15 วินาที จึงจะสามารถจ่ายไฟกลับคืนเข้าสู่ระบบได้ (ซึ่งเวลาดังกล่าวสามารถปรับตั้งได้) และหลังจากที่ไฟหลวงกลับคืนมาในระหว่างที่ transfer จะไฟ gen ไปไฟหลวง ไฟจะกระพริบ และ gen ก็จะเดินเครื่อง cool down ไปอีกประมาณ 5 นาที (เวลา cool down สามารถปรับได้เช่นกัน) แล้วเครื่อง gen ก็จะดับเองโดยอัตโนมัติครับ

Tuesday, June 23, 2009

การแก้ปัญหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสตาร์ทไม่ติด

บ่อยครั้งครับที่การแก้ปัญหาง่ายนิดเดียว เนื่องจากแบตเตอรี่จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของการสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กรณีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสตาร์ทไม่ติด การแก้ไขเบื้องต้นผมแนะนำให้เช็คที่แบตเตอรี่ก่อนเลยครับ อาจเป็นไปได้ว่าน้ำมันหมด, แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ อาจเนื่องมาจากไม่ได้เช็คระดับน้ำกลั่น หรือแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ, สายแบตเตอรี่ชาร์จเจอร์หลุดทำให้ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไม่ได้, แบตเตอรี่ชาร์จเจอร์เสีย ถ้าเช็คแบตเตอรี่แล้วปรากฏว่าปกติ อันนี้งานเข้าแล้วครับ ต้องลองสอบถามกับผู้ขายให้ส่งช่างเข้ามาตรวจเช็ดดูครับว่าเกิดจากอะไรครับ

Monday, June 22, 2009

เติมน้ำมันเรื่องเล็กแต่มันไม่เล็ก

เป็นประเด็นถกเถียงกันบ่อย ๆ ครับว่าซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำไมไม่เติมน้ำมันดีเซลให้เต็มถัง อันนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันตั้งแต่ตอนแรกครับ ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะเสนอราคาโดยไม่รวมน้ำมันดีเซลเอาไว้ด้วย อันเนื่องจากปัจจุบัน ราคาน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือลดลงก็เป็นประเด็นทำให้ถกเถียงกันได้ทั้งนั้น เพราะถ้าตกลงสั่งซื้อกันเรียบร้อยแล้วราคาน้ำมันขึ้น อันนี้ผู้ซื้อได้ประโยชน์ผู้ขายซวยครับ แต่ถ้าตกลงสั่งซื้อกันแล้วราคาน้ำมันลงอันนี้ผู้ซื้อเสียเปรียบผู้ขายยิ้มครับ แต่ถ้าไม่อยากเถียงกันทีหลังก็ตกลงกันเสียแต่ต้น ซึ่งปัจจุบันผู้ขายก็เริ่มป้องกันความเสียหายโดยการเสนอราคาการเติมน้ำมันไว้เป็น option และเสนอราคาเผื่อเอาไว้ เช่น ปัจจุบันราคาน้ำมันลิตรละ 27 บาท ก็อาจจะเสนอราคาไปลิตรละ 30-35 บาท เป็นต้น
โดยปกติแล้วเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็เหมือนกับรถยนต์ครับ เวลาถอยรถออกจากโชว์รูมใหม่ ก็จะมีน้ำมันอยู่ถังแค่พอให้ไปถึงปั้มเท่านั้นเอง

แต่ในแง่ของผู้ซื้อก็อยากได้ราคาที่เป็นธรรม ดังนั้นผู้ซื้อบางรายก็หาทางออกโดยการเติมน้ำมันเอง หรือให้ผู้ขายเสนอราคาเฉพาะค่าเติมน้ำมันมา แต่ราคาน้ำมันให้คิดตามจริง เพราะการเติมน้ำมันนี่ก็ไม่ใช่ง่ายนะครับผมเคยเห็นช่างมาเติมน้ำมันในถัง 4000 ลิตร ช่างต้องขับรถกะบะซึ่งท้ายรถบรรทุกถังน้ำมัน 200 ลิตร 4-5 ใบ วิ่งไปปั้มน้ำมันแล้วต้องวิ่งไปมา 4 เที่ยว และแต่ละเที่ยวพอมาถึงต้องใช้ปั้มไฟฟ้าดูดจากถัง 200 ลิตร ไปเข้าถัง 4000 ลิตร ซึ่งกว่าจะดูดหมดก็กินเวลาเป็นชั่วโมงต่อเที่ยวหล่ะครับ

และขอแนะนำว่าถ้ามีถังน้ำมันใบใหญ่ (สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่แล้ว) ควรจะซื้อปั้มไฟฟ้าเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะความยากในการเติมน้ำมันดังกล่าวข้างต้น ถ้ามีแต่ปั้มมือหมุนอย่างเดียวแล้วใช้แรงคนมานั่งหมุนหล่ะก้อ ตัวใครตัวมันหล่ะครับ

Thursday, June 18, 2009

การขนส่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า บางครั้งก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด

เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่ามองข้ามครับ เพราะบางทีการขนส่งก็ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงอย่างไม่น่าเชื่อเช่นกัน

เคยมีผู้รับเหมามาโอดครวญเข้าเนื้อเพราะตอนเสนอราคาเอางานตอนแรกก็เสนอราคาปกติ เป่า ๆ ราคาไปก่อน และเศรษฐกิจอย่างนี้ก็ต้องทุบราคาแย่งงานกันอุตลุต ไม่ได้เช็คราคากับผู้ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก่อน ผลสุดท้ายพอจะสั่งซื้อจริงๆ งบบานปลายเรื่องค่าขนส่งครับ คงสงสัยกันใช่มั้ยครับว่างบจะบานปลายได้อย่างไร
ผมขอชี้แจงดังนี้ครับ

1. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องยกขึ้นชั้นสูงของอาคาร (อันนี้งบจะบานครับเพราะต้องหาเครนมา เพราะต้องพิจารณาถึงน้ำหนักของเครื่อง ตำแหน่งการยืนของเครน ระยะบูมของเครน เพราะถ้าน้ำหนักของเครื่องมาก ตำแหน่งการยืนอยู่ห่างจากตัวอาคารซึ่งต้องยิงบูมไกลด้วยแล้ว ยิ่งต้องเครนหลายตัน ซึ่งราคาการเช่าเครนคิดเป็นรายวัน เช่น เครน 20 ตัน เช่ามายกก็ประมาณวันละสองหมื่นถึงสามหมื่นบาท และบางครั้งถ้าต้องยกในกรุงเทพฯ ซึ่งการจราจรพลุกพล่านด้วยแล้ว ก็ต้องยกกันในเวลากลางคืน ต้องปิดถนน (ทำให้มีค่าใช้จ่ายสำหรับการอำนวยความสะดวกทางจราจร) เป็นต้น) หรือบางท่านใช้วิธีลากเครื่องผ่านทางลาดต้องระวังเรื่องการรับน้ำหนักของพื้นแต่ละชั้นด้วย ถ้าพื้นรับไม่ได้ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการตั้งเสาค้ำยันแต่ละชั้น

2. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องลากลงชั้นใต้ดินของอาคาร (อันนี้ต้องอาศัยทีมงานที่มีฝีมือครับ ถ้าฝีมือไม่ดีทำให้เครื่องกระแทก เครื่องก็อาจได้รับความเสียหายได้
หรือบางครั้งลากลงชั้นจอดรถใต้ดิน โดยลากลงผ่านทางลาด (ramp) ซึ่งเป็นทางวนเหมือนทางขึ้นที่จอดรถ อันนี้ก็ยากครับ บางทีใช้เวลากันเป็นวัน ๆ และต้องปิดการจราจรด้วย) และเรื่องการรับน้ำหนักของพื้นเช่นเดียวกับข้อข้างบน

3. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องลากผ่านสนามหญ้าสวยงามอันเป็นที่หวงแหนของท่านเจ้าของโครงการ (อันนี้ นานาจิตตังครับ เหนื่อย เพราะจะมีค่าใช้จ่ายในการหาอุปกรณ์มาป้องกันสนามหญ้า หรือถ้ามันพังไปแล้วก็จะมีค่าใช้จ่ายในการปูหญ้าใหม่ครับ หรือเจ้าของบางท่านไม่ยอมเด็ดขาดอย่ามาทำอะไรกับสนามหญ้าอันหวงแหนของข้าพเจ้า ก็ลำบากต้องจ้างเครนยกข้ามสนามหญ้าหล่ะครับงานนี้)

4. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่กว่าช่องทางที่จะนำเข้า (ยุ่งเหมือนกันครับ ถ้าแบบง่าย ๆ ก็ทุบขยายช่องครับ แต่บางทีทุบไม่ได้ ก็ต้องใช้วิธีการแยกชิ้นส่วนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออก เป็นเครื่องยนต์, ชุดกำเนิดไฟฟ้า, หม้อน้ำ เป็นต้น แล้วก็ไปประกอบกันอีกที บางงานเจอว่าต้องเอาเครื่องไว้ขึ้นบนอาคาร และไม่มีทางที่จะนำเครื่องเข้าได้เลย ต้องอาศัยลิฟต์ ซึ่งประตูเข้าลิฟต์ก็แคบ ต้องใช้วิธีแยกชิ้นส่วนดังกล่าว ยังเคราะห์ดีครับที่ลิฟต์ยังสามารถรับน้ำหนักชิ้นส่วนที่แยกแต่ละชิ้นได้ ถ้าลิฟต์รับน้ำหนักไม่ได้ ก็ตัวใครตัวมันหล่ะครับ)

5. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องขนส่งข้ามเกาะ (เช่น เกาะบางเกาะไม่มีเรือเฟอร์รี่ที่สามารถรับน้ำหนักของรถบรรทุกที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบรรทุกมาด้วยได้ ก็ต้องอาศัยใช้เครนยกเครื่องลงเรือ พอไปถึงเกาะคราวนี้ปวดหัวอีกจะเอาขึ้นเกาะยังไง เพราะไม่มีท่าเทียบเรือ และยิ่งบนเกาะไม่มีเครนด้วยหล่ะ จุกหล่ะครับงานนี้ อีกตัวอย่างคือพายุเข้าครับ สมมตินัดจะส่งเครื่องวันที่ 16 พอรถบรรทุกวิ่งไปถึงท่าเรือ ปรากฏว่าพายุเข้าครับ ต้องรอพายุไปก่อน แล้วก็ไม่รู้มันจะไปเมื่อไหร่ นี่เสียค่าเช่ารถบรรทุกเป็นรายวันแล้วครับ (ไม่รู้กี่วันอีกต่างหาก เผลอๆต้องขนเครื่องกลับไปก่อน) และต้องจองเรือกันด้วยบางเกาะเรือที่จะบรรทุกได้ก็มีน้อยเต็มทีต้องรอคิว กว่าคิวจะว่างก็เจอปัญหาต้องรอน้ำขึ้นน้ำลงอีก นี่ก็จะเป็นส่วนหนึ่งทำให้งานล่าช้า พองานเสร็จไม่ทันโดนปรับตามมาอีกครับ ซวยหลายเด้งเลยงานนี้)

6. ข้อนี้ซวยน้อยหน่อยครับ ขนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปถึงหน่วยงานปรากฏว่าคืนก่อนหน้าฝนตกหนัก พื้นเละเข้าหน่วยงานไม่ได้ เพราะขืนดึงดันวิ่งเข้าไปติดหล่มแน่ ต้องเดือดร้อนเอารถมาช่วยลากกันหล่ะครับ เคราะห์หามยามซวยเครื่องจะตกลงมาซะอีก บางท่านก็ใช้วิธีให้ขนกลับไปก่อนพอพื้นแน่นก็ให้ขนมาใหม่ครับ

เพราะฉะนั้นจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบด้วยครับเกี่ยวกับสถานที่ที่จะติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าครับ

ถังน้ำมันใต้แท่นกับถังน้ำมันแยกต่างกันอย่างไร

ในปัจจุบันบริษัทฯที่ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะทำถังน้ำมันเชื้อเพลิงใต้แท่นเครื่องสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก เพราะสะดวกต่อการใช้งาน ประหยัดพื้นที่ ไม่ต้องเดินท่อน้ำมันให้เกะกะ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar ขนาดเล็กกว่า 500 เควีเอ พิกัดสำรองฉุกเฉิน (Standby rating) จะออกแบบเป็นถังน้ำมันใต้แท่นเครื่องมาจากโรงงาน เช่นเดียวกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Cummins ที่ปัจจุบัน ก็จะออกแบบเป็นถังน้ำมันใต้แท่นเครื่องมาจากโรงงานเช่นเดียวกัน

และสำหรับถังน้ำมันแยกนั้นมักจะใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันจะสูง เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 1000 เควีเอ พิกัดสำรองฉุกเฉิน (Standby rating) ถ้าเดินที่ 100% load จะใช้น้ำมัน 200 ลิตร ต่อชั่วโมง (ตามบทความที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้) และถ้าต้องการให้สามารถใช้งานได้ 8 ชั่วโมง ก็ต้องมีถังน้ำมันขนาด 1600 ลิตร ซึ่งถ้าเอาถังน้ำมันไว้ใต้แท่นเครื่องจะทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขนาดความสูงเกินความจำเป็น

นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อการสั่นสะเทือนของเครื่องได้ (ตามบทความก่อนหน้านี้) เนื่องจากปริมาณน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงมาก ทำให้น้ำหนักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารวมเปลี่ยนแปลงมาก ซึ่งจะทำให้หาสปริงรองแท่นเครื่องที่เหมาะสมกับน้ำหนักที่มีช่วงการเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ทำได้ยาก

สำหรับในเรื่องของความปลอดภัยซึ่งบางท่านอาจจะกลัวว่ามีถังน้ำมันอยู่ใต้แท่นเครื่องจะอันตรายหรือเปล่า ความคิดเห็นของผมฟันธงได้เลยครับว่าถ้าจะอันตรายมันก็ไม่แตกต่างจากถังน้ำมันแยกหรอกครับ อย่ากลัวโดยใช่เหตุ เหตุผลที่ผมกล้าฟันธงมีดังนี้

1. ถังน้ำมันใต้แท่นเครื่องนั้นออกแบบมาจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรงย่อมรับประกันได้ว่าระดับยี่ห้อดัง ๆ อย่าง Caterpillar หรือ Cummins ต้องไม่ออกแบบให้เสียชื่ออย่างแน่นอน และก่อนผลิตออกมาวิศวกรต้องมีคำนวณและออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว
2. ถังน้ำมันแยกก็ต้องต่อท่อน้ำมันมาเข้าเครื่องเหมือนกัน ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ ไฟก็ลามมาที่เครื่องได้ไม่ต่างกับถังน้ำมันอยู่ใต้แท่นเครื่อง
3. ขนาดรถยนต์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ถังน้ำมันอยู่ในตัวรถวิ่งไปวิ่งมา ยังไม่เห็นจะกลัวกันเลย ยิ่งรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซินด้วยแล้วก็ยังวิ่งกันออกถม ดังนั้นจะกลัวอะไรกับถังน้ำมันใต้แท่นหล่ะครับ

แต่ที่น่าแปลกมีบุคคลอยู่ 2 ประเภทครับที่น่าปวดหัว พวกจะใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องเล็กแต่อยากได้ถังน้ำมันแยก (เพราะกลัวเรื่องความปลอดภัย) กับอีกพวกคือจะใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องใหญ่แต่กลับอยากได้ถังน้ำมันใต้แท่นเครื่อง (เพราะไม่อยากมีท่อน้ำมันเกะกะ) เออ เอาเข้าไป แต่อยากอะไรก็อยากได้ ขอให้มีตังจ่ายอย่างเดียว พวกลูกจ้างอย่างผมก็จัดหาให้ได้ทุกอย่างอยู่แล้น

Wednesday, June 17, 2009

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเคลื่อนที่ ขนาดไม่น้อยกว่า 5 kVA. จำนวน 4 เครื่อง

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเคลื่อนที่ ขนาดไม่น้อยกว่า 5 kVA. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 4 เครื่อง เพื่อใช้งาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่สอบราคาซื้อดังกล่าว
2. ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
3. ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันนั้น
4. ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่ ด้วย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ณ วันประกาศสอบราคาซื้อ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการสอบราคาซื้อครั้งนี้

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 22 มิถุนายน 2552 ถึง 2 กรกฎาคม 2552 ระหว่างเวลา 08.00 น. ถึง 16.30 น. ณ ส่วนจัดซื้อ ฝ่ายอำนวยการ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคารสำนักงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อาคาร AOB) ชั้น 6 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ 100.- บาท ได้ที่ ส่วนจัดซื้อ ฝ่ายอำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคารสำนักงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อาคาร AOB) ชั้น 6 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.airportthai.co.th หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2132-5412 ในวันและเวลาราชการ

Tuesday, June 16, 2009

บริการปรึกษาทุกปัญหาเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

บริการรับปรึกษาทุกปัญหาเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
1. การเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
2. ราคาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
3. สวิตซ์สลับทางไฟฟ้าอัตโนมัติ
4. การทำห้องเก็บเสียง
5. การทำตู้ครอบเก็บเสียง
6. การติดตั้ง, รื้อถอน และขนย้ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
7. การบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
8. ซ่อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
Email : generatorthailand@yahoo.com
webmaster พร้อมจะตอบคำถามทุก ๆ 4 ชั่วโมง บริการตอบคำถามฟรี

การบำรุงรักษาแบตเตอรี่ ตอน 2

3. การทำความสะอาดแบตเตอรี่ ความชื้นที่ด้านบนของแบตเตอรี่จะสะสมฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก ถ้าไม่ทำความสะอาดตามระยะเวลา ฝุ่นผงเหล่านี้จะทำให้แบตเตอรี่ดิสชาร์จผ่านด้านบนของแบตเตอรี่ช้า ๆ วิธีที่ดีในการทำความสะอาดด้านบนของแบตเตอรี่ ให้ใช้โซดาเทลงรอบ ๆ ด้านบนแบตเตอรี่ ทิ้งไว้สักครู่ให้ฟองที่เกิดขึ้นหมดไป แล้วใช้น้ำสะอาดล้างอีกทีหนึ่ง จะลดลงตามลำดับเพื่อจำกัดตัวกัดกร่อนนี้ และให้เกิดการต่อกันที่ดี

4. การชาร์จแบตเตอรี่ เมื่อพบว่าแบตเตอรี่ไฟหมดจะต้องนำไปชาร์จ ซึ่งการชาร์จมี 2 ชนิดคือ การชาร์จอย่างช้า ๆ และชาร์จอย่างเร็ว การชาร์จอย่างเร็วไม่สามารถทำให้แบตเตอรี่ได้รับประจุเต็มได้ ถ้าต้องการให้ได้รับประจุเต็มต้องชาร์จต่ออีก โดยชาร์จอย่างช้า ๆ ขณะชาร์จควรระมัดระวังประกายไฟในขณะที่ปลดสายคืบแบตเตอรี่ เนื่องจากขณะชาร์จจะเกิดก๊าซออกซิเจนและไฮโดรเจน ซึ่งเมื่อก๊าซดังกล่าวได้รับประกายไฟอาจระเบิดได้ น้ำยาในแบตเตอรี่อย่าให้ถูกผิวหนัง หากถูกน้ำยาควรรีบล้างน้ำทันที

การบำรุงรักษาแบตเตอรี่ ตอน 1

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่จะสั้นหรือยาวนั้นขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งการบำรุงรักษามีดังนี้
1. การเติมน้ำยา แบตเตอรี่ใหม่ เมื่อจะนำมาใช้ จะต้องเติมน้ำยา (electrolyte) โดยน้ำยาที่ใช้ในแบตเตอรี่เป็นส่วนผสมของกรดกำมะถัน (H2SO4) กับน้ำ (H2O) ซึ่งผสมกันด้วยสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้ได้น้ำยาที่มีความถ่วงจำเพาะถูกต้อง การผสมกรดกำมะถันกับน้ำ จะต้องเทกรดลงในน้ำช้า ๆ แล้วใช้ไม้สะอาดกวนให้ส่วนผสมเข้ากันตลอดเวลาที่เทกรดลงในน้ำ ห้ามเทน้ำลงในกรดเป็นอันขาด การเติมน้ำยานี้จะเติมลงในแบตเตอรี่ใหม่ครั้งแรกเท่านั้นและเมื่อแบตเตอรี่ถูกนำไปใช้งานแล้ว จะไม่มีการเติมน้ำยาในระหว่างการใช้งานอีก แต่จะต้องเติมน้ำกลั่นในระหว่างการใช้งานแทนเพื่อรักษาระดับของน้ำยาในช่องเซลล์ของแบตเตอรี่แต่ละช่อง

2. การเติมน้ำกลั่น เป็นสิ่งจำเป็นในการบำรุงรักษาแบตเตอรี่ ซึ่งต้องเติมตามระยะเวลา เพื่อป้องกันระดับน้ำยาตกต่ำกว่าด้านบนของแผ่นธาตุและแผ่นกั้น เพราะถ้าปล่อยให้ต่ำกว่าระดับ จะทำให้แผ่นกั้นและแผ่นธาตุบางส่วนถูกกับอากาศทำให้ชำรุดเสียหายได้ จึงต้องเติมน้ำกลั่นตามระยะเวลาเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไปจากแบตเตอรี่ ในระหว่างการเกิดปฏิกิริยา ระดับน้ำยาโดยปกติจะต้องอยู่เหนือแผ่นธาตุประมาณ 0.25-0.5 นิ้ว การเติมน้ำกลั่นมากเกินไป จะทำให้น้ำยากระฉอกออกมาและสูญเสียไป น้ำยาที่สูญเสียไป นอกจากความจุของแบตเตอรี่จะสูญเสียไปแล้ว ยังทำให้เกิดการกัดกร่อนโลหะหรือสิ่งอื่น ๆ ที่สัมผัสกับมัน โดยเฉพาะเครื่องยึดแบตเตอรี่ และสายเคเบิลจะเสียหายมาก

Monday, June 15, 2009

แบตเตอรี่นิเกิลแคดเมียม (Ni-Cd) กับน้ำกรด (Lead-acid)

เคยเป็นประเด็นถกเถียงกันครับเกี่ยวกับเรื่องของแบตเตอรี่สำหรับใช้ในการสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator set) เนื่องจากในสเปคระบุให้ใช้แบตเตอรี่นิเกิลแคดเมียม (Ni-Cd) แต่ผู้ขายยืนยันจัดแบตเตอรี่แบบน้ำกรด (Lead-Acid) ให้ โดยให้เหตุผลว่าแบตเตอรี่นิเกิลแคดเมียมราคาจะสูงมาก (ประมาณหลักแสนขึ้นน่าจะมากกว่าสองแสน) ซึ่งเกินความจำเป็นอีกทั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็ใช้สำหรับการสำรองช่วงไฟดับเท่านั้น พิจารณาจากเหตุผลแล้วมันก็เกินไปจริงๆ ที่ซื้อแบตเตอรี่ลูกเป็นแสน ราคาเผลอๆ มากกว่า 10% ขอค่าเครื่องเสียอีก เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ธรรมดา (lead-acid) ซึ่งลูกละหมื่นกว่าบาทเท่านั้นเอง (เอาเงินซื้อแบตนิเกิลแคดเมียมมาเปลี่ยนซื้อแบตธรรมดาได้เกือบ 20 เที่ยว อายุการใช้งานแบตธรรมดา ให้อย่างน้อย 1 ปี ก็ใช้ได้ร่วม 20 ปีแล้ว) คุ้มกว่าตั้งแยะ

Sunday, June 14, 2009

จังหวัดชุมพร สอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 300 กิโลวัตต์

จังหวัดชุมพร มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 300 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง วงเงิน 1,500,000บาท
สำหรับโรงพยาบาลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่สอบราคาซื้อดังกล่าว
2. ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
3. ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันนั้น
4. ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่ ชุมพร ณ วันประกาศสอบราคาซื้อ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการสอบราคาซื้อครั้งนี้

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 24 มิถุนายน 2552 ถึง 24 มิถุนายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30น. น. ถึง 16.00น. น. ณ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสวี และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 25 มิถุนายน 2552 เวลา 10.30น.เป็นต้นไป น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสวี ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2552 หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-7753-1206 ต่อ 102 ในวันและเวลาราชการ

Wednesday, June 10, 2009

จังหวัดอุบลราชธานี ประมูลซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 500 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

ด้วยจังหวัดอุบลราชธานี โดยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม มีความประสงค์จะประมูลซื้อ รายการ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 500 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,600,000.-(สามล้านหกแสนบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.เพื่อใช้ในการสนับสนุนงานด้านบริการของสถานบริการให้มีความพร้อมสำหรับให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในพื้นที่
2.รายละเอียดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 500 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 3,600,000.บาท(สามล้านหกแสนบาทถ้วน)
3.ราคากลางของทางราชการ เครื่องละ 3,600,000. บาท
4.เงินที่ซื้อใช้เงินบำรุงของ รพร.เดชอุดม สสจ.อุบลราชธานี
5.กำหนดระยะเวลาส่งมอบ 180 วัน ยืนราคา 120 วัน
6.จัดซื้อโดยวิธีประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์

ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่ประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว
2. ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
3. ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันนั้น 4. ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม และไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เสนอราคากับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ณ วันประกาศประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ในการประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 22 มิถุนายน 2552 ถึง 22 มิถุนายน 2552 ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 11.00 น. ณ หอประชุมท้องถิ่น ที่ว่าอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ 24 มิถุนายน 2552 เวลา 09.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ 0 บาท ได้ที่ งานพัสดุ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.detudomhospital.org หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 045-361133 ต่อ 125 , 203 ในวันและเวลาราชการ

Monday, June 8, 2009

Sunday, June 7, 2009

ขั้นตอนการขออนุญาตผลิตพลังงานควบคุม

การขออนุญาตการผลิตพลังงานควบคุม สำหรับผู้ที่ครอบครองเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 200 kVA ขึ้นไป จะต้องดำเนินการยื่นคำขอรับใบขออนุญาตการผลิตพลังงานควบคุม โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ยื่นคำรับใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม แบบ พค.1พร้อใอกสารประกอบดังนี้

1.1 สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนนิติบุคคลที่ยื่นขอรับใบอนุญาต อายุไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล หากกรณีเป็นบุคคลธรรมดาจะต้องมีหนังสือใบจดทะเบียนการค้า จำนวน 1 ชุด

1.2 หนังสือมอบอำนาจตามแบบของพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมติดอากรแสตมป์ ราคา 10 บาท ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้รับมอบอำนาจให้ยื่นขอรับใบอนุญาต

1.3 สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ

1.4 แผนผังบริเวณที่ตั้งสถานที่ผลิตพลังงานควบคุม (แผนที่) จำนวน 2 ชุด

1.5 แผนผังวิธีการเดินสายและการจ่ายพลังงานควบคุม(Singleline Diagrams) จำนวน 2 ชุด

1.6 พิกัดขนาดติดตั้งของเครื่องใช้พลังงานที่ใช้กับพลังงานควบคุม แต่ละแหล่งผลิตพลังงานควบคุม จำนวน 2 ชุด (LOAD)

1.7 สำเนาใบอนุญาตประกอบวิศวกรรมควบคุม ของผู้ควบคุมการผลิตพลังงานควบคุม (ถ้ามี)

2. การตรวจสอบ จะทำการตรวจสอบในส่วนของรายละเอียดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่แจ้งในใบคำขอรับใบอนุญาต ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องวัดของชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและชุดต้นกำลัง ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกัน (เช่น Circuit Breaker สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ Potential Relay อุปกรณ์ระบบสับเปลี่ยน อุปกรณืการเชื่อมโยงหรือการขนานเครื่อง ระบบการจ่ายพลังงาน และบริเวณสถานที่ตั้ง และอุปกรณ์ในการป้องการเกิดอุบัติภัย เช่น ถังเคมีดังเพลิง มีแสงสว่างในพื้นที่ผลิตพลังงานควบคุมอย่างเพียงพอ)

3. ขั้นตอนการนำเสนอรายงานของเจ้าหน้าที่ โดยจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่กรมกำหนดไว้ หากระบบถูกต้องตามเกณฑ์ จะได้รับการพิจาณาออกใบอนุญาต โดยใบอนุญาตมีอายุครั้งละ 4 ปี หากผลการตรวจสอบพิจารณาแล้วไม่มีความปลอดภัยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ทาง กรม ฯ จะมีหลังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทำการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ โดยผู้ขออนุญาตจะต้องแก้ไขปรับปรุงระบบและแจ้งผลกับทางกรม ฯ ภายใน 45 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และจะต้องมีการตรวจสอบใหม่จนกว่าจะมีการติดตั้งหรือปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

4. ระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนออกใบอนุญาต ในกรณีที่ระบบมีความถูกต้องจะออกใบอนุญาตภายใน 50 วัน

5. การยื่นคำขอรับใบอนุญาตฯไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

หากมีข้อสงสัยประการใดกรุณาติดต่อได้ที่ 02-207 3599

เนื่องจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 (มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2550) ทำให้อำนาจหน้าที่การออกใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุมจากเดิมของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปลี่ยนเป็นของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

โดยผู้ขออนุญาตฯจะต้องยื่นขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 19 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 (www.erc.or.th) โทร 0 2207 3599 ต่อ 621 โทรสาร 02 207 3502 02-2230021-9 ต่อ 1511,1512

รายละเอียดเพิ่มเติมและแบบฟอร์มที่ http://www.dede.go.th/dede/index.php?id=809

Saturday, June 6, 2009

โครงการศึกษาปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (POWER FACTOR) ของผู้ใช้ไฟฟ้า

การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภครับผิดชอบในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าอย่างมีคุณภาพ และเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ในการจำหน่ายกระแสไฟฟ้านั้น กฟน.ได้ตะหนักถึงความมั่นคงเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า คุณภาพและการบริการ การประหยัดพลังงาน และส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อการประหยัดพลังงานของประเทศ ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน รวมถึงผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ในที่สุด

อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆล้วนต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งพลังงานไฟฟ้าจะถูกส่งมาจากแหล่งผลิตไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ โดยผ่านการแปลงแรงดันจากหม้อแปลงไฟฟ้าหลายครั้งกว่าจะมาถึงผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละรายได้ ประสิทธิภาพหรือคุณภาพของการจ่ายไฟฟ้าจึงมีความสำคัญมาก

เพาเวอร์แฟคเตอร์(POWER FACTOR : PF) หรือตัวประกอบกำลังไฟฟ้า เป็นตัวประกอบสำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพหรือคุณภาพของการจ่ายไฟฟ้าในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีเพาเวอร์แฟคเตอร์ต่ำ มีผลทำให้ระบบการจ่ายไฟฟ้ามีคุณภาพต่ำไปด้วย การไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องเพิ่มขนาดของอุปกรณ์ จำหน่ายไฟฟ้าให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถรับปริมาณพลังงานไฟฟ้า ส่วนที่ไม่จำเป็นหรือที่เรียกกันว่า พลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ ซึ่งไม่มีผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม นอกจากนั้นยังต้องปรับปรุงคุณภาพการจ่ายไฟฟ้าให้มีแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำลงด้วย ทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ดังนั้นหากผู้ใช้ไฟฟ้าปรับปรุง POWER FACTOR ของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้สูงขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าก็จะได้รับผลประโยชน์ไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชาติประหยัดพลังงานได้ในที่สุด

ถึงแม้ว่าได้มีการใช้ค่าปรับ POWER FACTOR เพื่อชักจูงผู้ใช้ไฟฟ้าให้ทำการปรับปรุง POWER FACTOR เพื่อการประยัดพลังงานมาช้านานแล้วก็ตาม แต่ยังมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนน้อยที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุง POWER FACTOR ดังกล่าว ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของรัฐบาล การไฟฟ้านครหลวงจึงได้จัดทำ “โครงการศึกษาปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (POWER FACTOR) ของผู้ใช้ไฟฟ้า” ขึ้น และเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติเพื่อขอรับการสนับสนุน ด้านการเงิน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานโดยจะดำเนินการปรับปรุงค่า POWER FACTOR ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีค่าต่ำกว่า 0.85 Lagging ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 11,065 ราย และมีค่า POWER FACTOR มากกว่า 0.85 Lagging โดยการติดตั้งCapacitor จำนวนทั้งสิ้น 461.75 MVAR ซึ่งจะทำให้เพิ่มความสามารถของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในระบบไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น

การดำเนินงานในโครงการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้ากับผู้ใช้ไฟฟ้าที่มี PF. ของผู้ใช้ไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้น 0.85 Lagging ซึ่งจะเป็นการลดกำลังไฟฟ้าที่จะสูญเสียไป และเพิ่มความสามารถในการรับ Load ของอุปกรณ์ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นทั้งของผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้จำหน่ายไฟฟ้าระบบส่งไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอันเป็นการประหยัดการใช้พลังงานของผู้ใช้ไฟฟ้า และประเทศชาติโดยรวมผลการดำเนินงานในโครงการนี้ จะก่อให้การอนุรักษ์พลังงานทางด้านไฟฟ้าเป็นไปอย่างถูกวิธีและเป็นรูปธรรม

โดยการไฟฟ้านครหลวงจะดำเนินการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า POWER FACTOR ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มี PF. ต่ำกว่า 0.85 Lagging จำนวนทั้งสิ้น 11,065 ราย โดยกฟน. จะให้ความรู้คำแนะนำของประโยชน์ในการปรับปรุงค่า POWER FACTOR ต่อผู้ใช้ไฟฟ้า พร้อมกับเชิญบริษัทเอกชนที่มีคุณสมบัติตามข้อที่กำหนดไว้ และประสงค์ที่จะรับจ้าง กฟน. เพื่อดำเนินการสำรวจ ออกแบบและติดตั้งตัวเก็บประจุไฟฟ้า จำนวนประมาณ 461.75 MVAR โดยการประกวดราคา หรือการดำเนินการดังกล่าวพร้อมรับประกันความเสียหายที่เกิดกับอุปกรณ์ที่ทำการติดตั้งไว้เป็นเวลา 2 ปี ภายใต้การกำกับดูแลของ กฟน. พร้อมกับบริษัทฯ ดังกล่าวจะต้องตรวจสอบค่า POWER FACTORของผู้เข้าร่วมใช้ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการแต่ละปีและประกันความเสียหายของอุปกรณ์ตลอดระยะเวลาที่รับประกัน ไว้เพื่อการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ได้สภาพที่ใช้งานปกติ โดย กฟน. จะขอรับการสนับสนุนด้านการเงินของโครงการฯกับกองทุนเพื่อส่งเสิรมการอนุรักษ์พลังงาน และให้ผู้ใช้ไฟฟ้าร่วมสมทบทุนติดตั้ง Capacitorและอุปกรณ์ประกอบอีกส่วนหนึ่ง พร้อมกันนี้ กฟน. จะได้จัดทำแผนเพื่อการลงทุนปรับปรุง PF.ในระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟน. ให้มีค่า POWER FACTOR เท่ากับหรือมากกว่า 0.875 ด้วย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ เพิ่มความสามารถของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบไฟฟ้าได้หรือมีความสามารถในการรับ Load ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในระบบไฟฟ้าได้เพิ่มมากขึ้น เท่ากับ 287.72 MW คิดเป็นเงินที่ประเทศชาติสามารถประหยัด การลงทุนขยายระบบไฟฟ้าได้ คิดเป็นจำนวนเงิน 641.103 ล้านบาทต่อปี

ลดพลังงานไฟฟ้าสูญเสีย ซึ่งทำให้ประเทศชาติสามารถประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้เท่ากับ 97.81 GWh ต่อปี คิดเป็นเงินที่ประเทศชาติสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 141.306 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นเงินที่ประเทศสามารถประหยัดได้รวมเท่ากับ 782.094 ล้านบาทต่อปี

ในขณะเดียวกันผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้ปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าได้สูงขึ้นแล้วสามารถเพิ่มความสามารถของสายไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้าในการรับ Load ได้เพิ่มขึ้น 370.33 MW คิดเป็นเงินของผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 72.635 ล้านบาทต่อปี ประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ 651.86GWh ต่อปี คิดเป็นเงินที่ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้ เท่ากับ 689.799 ล้านบาทต่อปี และนอกจากนี้ยังสามารถประหยัดค่าไฟฟ้ารีแอคทีฟได้อีก คิดเป็นเงิน 96.340 ล้านบาทต่อปี และประหยัดค่าไฟฟ้าอันเนื่องจาก Copper Loss และ Cable Loss คิดเป็นเงิน 66.13 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นเงินที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถประหยัดในการใช้พลังงานได้รวมถึง 924.904 ล้านบาทต่อปี รวมเงินที่สามารถอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดได้ประมาณ 1,707.331 ล้านบาทต่อปี

ที่มา เว็บไซต์สถาบันวิจัยพลังงาน

การปรับปรุงเพาเวอร์แฟคเตอร์ (power factor) ของโหลดด้วยคาปาซิเตอร์

ตัวอย่าง โหลดที่แรงดัน 380V ขนาด 1000kW 0.75PF ต้องการปรับให้เป็น 0.95PF ต้องใช้คาปาซิเตอร์ขนาดเท่าใด ถ้าพิกัดแรงดันของคาปาซิเตอร์มีค่า 440V

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คาปาซิเตอร์เปรียบเสมือนกับเครื่องกำเนิดวาร์ (Vars) หรือเป็นตัวกำเนิดกำลังไฟฟ้ารีแอคตีฟ Q
ก่อนใส่คาปาซิเตอร์ กำลังไฟฟ้ารีแอคตีฟของโหลดมีค่า QL สามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้า (Power Triangle) ซึ่งประกอบด้วยกำลังไฟฟ้าจริง PL และกำลังไฟฟ้ารีแอคตีฟ มุม qL เป็นมุมซึ่งหาได้จาก cos-1(PF)
qL = cos-1(0.75) = 41.4o
โหลดมีค่า 1000kW 0.75PF
PL = 1000kW
QL = PLtanqL = 1000tan41.4o = 881kVar
SL = PL/cosqL = 1000/0.75 = 1333kVA
เมื่อต้องการปรับ PF ให้เป็น 0.95
qL = cos-1(0.95) = 18.2o
QL - QC = PLtanqL = 1000tan18.2o = 329kVar
ขนาดคาปาซิเตอร์ที่ต้องใช้สำหรับระบบแรงดัน 380V
881 - 329 = 552kVar
ถ้าพิกัดแรงดันของคาปาซิเตอร์เป็น 440V ต้องใช้คาปาซิเตอร์ขนาด
552 x (440/380)2 = 740kVar
ทำไมต้องเป็น 552 x (440/380)2 ในทางปฏิบัติเราไปหาคาปาซิเตอร์พิกัดแรงดัน 380V คงไม่มีหรืออาจหายาก ดังนั้น ถ้าพิกัดแรงดันของคาปาซิเตอร์ไม่ตรงกับแรงดันของระบบที่ใช้งานก็ต้องคำนวณเพื่อหาขนาดคาปาซิเตอร์ที่ถูกต้องมาใช้งาน

วิศวกรบางท่านได้ค่าคาปาซิเตอร์ที่ได้จากการคำนวณในระบบ 380V ก็สั่งซื้อขนาดดังกล่าวมาติดตั้ง ปรากฏว่าได้ PF ไม่ตรงตามต้องการ ในทางปฏิบัติมีการใช้ไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก

สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงในคาปาซิเตอร์คือค่า XC ดังนั้น กำลังไฟฟ้าจึงมีค่าเท่ากับ V2/XC ขึ้นกับว่าไปใช้ที่แรงดันเท่าใด ถ้าใช้ที่แรงดันต่ำก็ทำให้กำลังไฟฟ้า kVar มีค่าน้อยลง
สรุปได้ว่ากำลังไฟฟ้า kVar แปรตาม V2

ถ้านำคาปาซิเตอร์ 740kVar ที่พิกัดแรงดัน 440V มาใช้งานที่ 380V ได้ 740 x (380/440)2 = 552kVar
- ถ้านำคาปาซิเตอร์ 740kVar ที่พิกัดแรงดัน 440V มาใช้ในระบบ กฟน. ที่มีพิกัดแรงดัน 416V จะเหมือนต่อคาปาซิเตอร์ขนาด 740 x (416/440)2 = 661kVar

ถ้านำคาปาซิเตอร์ 740kVar ที่พิกัดแรงดัน 440V มาใช้ในระบบ กฟภ. ที่มีพิกัดแรงดัน 400V จะเหมือนต่อคาปาซิเตอร์ขนาด 740 x (400/440)2 = 611kVar

ที่มา : http://jom.212cafe.com/archive/

การไฟฟ้านครหลวง จะประมูลซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองพร้อมอุปกรณ์ ขนาด 500 kVA

การไฟฟ้านครหลวง มีความประสงค์จะประมูลซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองพร้อมอุปกรณ์ ขนาด 500 kVA. พร้อมติดตั้ง จำนวน 1 ชุด โดยมีกำหนดส่งมอบพัสดุให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับถัดจากวันที่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขาย

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 ถึง 10 กรกฎาคม 2552 ระหว่างเวลา 08.00 น. ถึง 11.00. น. ณ อาคาร 3 ชั้น 7 งานจัดซื้อ-จัดจ้าง กองสนับสนุนธุรกิจ ฝ่ายบริการระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ -- กรกฎาคม 2552 เวลา --- น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ 1,000.00 บาท ได้ที่ อาคาร 3 ชั้น 7 งานจัดซื้อ-จัดจ้าง กองสนับสนุนธุรกิจ ฝ่ายบริการระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ ---- หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 02-220-5558 ในวันและเวลาราชการ

Thursday, June 4, 2009

Tuesday, June 2, 2009

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สอบราคาซื้อ Mobile Generator 12 เครื่อง

ด้วยฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษาสื่อสารไร้สาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ Mobile Generator จำนวน 12 เครื่อง-

กำหนดยื่นซองสอบราคา ณ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อสารไร้สาย ในวันที่ 11 มิ.ย. 2552 ภายในเวลา 09.00 น. - 11.15 น. ตามเวลานาฬิกาของฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อสารไร้สายเป็นมาตรฐาน-

กำหนดเปิดซองสอบราคาในวันที่ 11 มิ.ย. 2552 เวลาประมาณ 11.30 น.

จำหน่ายรายละเอียดชุดละ 107.- บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ผู้สนใจโปรดติดต่อขอซื้อเอกสารสอบราคาได้ที่ ส่วนธุรการรวมสื่อสารไร้สาย ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อสารไร้สาย ศูนย์บริการลูกค้าชั้น 3 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210-0298 โทร. 0-2104-4165, 0-2104-4795 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2552 ในเวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น. เป็นต้นไป

เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากับสิทธิส่งเสริมการลงทุน (BOI)

โดยปกติเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะเสียภาษีนำเข้า 10% (เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประกอบสำเร็จรูปจากต่างประเทศ) ซึ่งโดยปกติผู้ซื้อที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จะได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็มักจะเป็นรายการหนึ่งที่ได้รับการยกเว้นดังกล่าวด้วย ดังนั้นในกรณีที่ได้รับสิทธิส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จะช่วยให้ผู้ซื้อสามารถซื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ในราคาที่ประหยัดขึ้น 10 %

ในกรณีที่ผู้ซื้อได้รับสิทธิพิเศษ BOI ควรจะสั่งซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรงจากผู้ขาย เนื่องจากจะช่วยลดความซับซ้อนทางด้านเอกสารเกี่ยวกับใบแจ้งหนี้ ซึ่งควรจะเป็นชื่อเดียวกันกับผู้ได้สิทธิ BOI (เพราะอาจยุ่งยากในการสำแดงเอกสารกับสรรพากรในภายหลังได้)

Monday, June 1, 2009

หลังการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

หลังการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ตรวจสอบรอยรั่วซึมของระบบน้ำหล่อเย็น รอยรั่วซึมของน้ำมันหล่อลื่น

(2) ทำความสะอาดหม้อน้ำรังผึ้ง โดยปัดฝุ่นผง เศษวัสดุที่ติดตามแนวหม้อน้ำ

(3) ตรวจสอบข้อต่อส่งกำลังต่าง ๆ

(4) ตรวจสอบจุดต่อสายไฟต่าง ๆ

(5) ทำความสะอาดไส้กรองอากาศ

(6) ตรวจสอบหารอยปริร้าวของสายพานฉุดใบพัด และสายพานต่าง ๆ

(7) ทำความสะอาดสถานที่และเครื่องยนต์ ตู้ควบคุม

(8) ตรวจดูระดับน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับ

(9) ไล่ความชื้นออกจากที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิงทุก ๆ สัปดาห์ (ถ่ายน้ำทิ้งจากชุดกรองน้ำมันเชื้อเพลิง)

(10) ตรวจสอบจดบันทึกการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์

ระหว่างใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ระหว่างใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์กำหนด

(2) ตรวจสอบความถี่ทางไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์กำหนด

(3) ตรวจสอบกระแสการใช้งานของ Load ต้องไม่เกินกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

(4) ตรวจสอบแรงดันน้ำมันเครื่องยนต์ว่าปกติหรือไม่จากมาตรวัด

(5) ตรวจสอบอุณหภูมิของเครื่องยนต์ว่าปกติหรือไม่จากมาตรวัด

(6) สังเกตและฟังเสียงที่เกิดจากอาการผิดปกติของเครื่องยนต์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

(7) ตรวจเช็คการทำงานของตู้ควบคุม

(8) ไม่ควรเปิดหรือปิดเบรกเกอร์สำหรับจ่าย Load บ่อย ๆ โดยไม่จำเป็น

(9) หากเกิดประกายไฟจากจุดต่าง ๆ หรือมีกลิ่นไหม้ ควันขึ้นให้ดับเครื่องยนต์แล้วแจ้งช่าง

(10) ควรมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลเครื่องยนต์ขณะใช้งานตลอดเวลา

Thursday, May 28, 2009

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จ้างเหมาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ชุมสายโทรศัพท์ บางพลัด

ส่วนจัดหากลางที่ 1 ฝ่ายบริหารพัสดุ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์จะประมูลจ้าง จ้างเหมาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ชุมสายโทรศัพท์ บางพลัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร พร้อมรื้อถอนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเดิม ติดตั้งใหม่ ณ ชุมสายโทรศัพท์ราษฎร์บูรณะ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประกาศประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ จพพ.1/8/2552บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต้องการจ้างเหมาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ชุมสายโทรศัพท์ บางพลัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร พร้อมรื้อถอนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเดิม ติดตั้งใหม่ ณ ชุมสายโทรศัพท์ราษฎร์บูรณะ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ถึง 16 มิถุนายน 2552 ระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 10.00 น. ณ ห้องประกวดราคาอาคาร 10 (อาคารจอดรถ) ชั้น 1 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ 3000 บาท ได้ที่ ส่วนรับและจ่ายเงิน อาคาร 1 ชั้น 1 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://tot3.tot.co.th/bid หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2505-6948 ในวันและเวลาราชการ

ก่อนใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator)

ก่อนใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ทำความคุ้นเคยการทำงาน โดยศึกษาจากคู่มือ อุปกรณ์การควบคุม เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
สามารถควบคุมได้ทั้งระบบ Manual และ Automatic ศึกษาตำแหน่งของวาล์วที่ทำงานและ
อุปกรณ์การดับเครื่องจนเป็นที่เข้าใจ

(2) มีความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

(3) ตรวจสอบน้ำในหม้อน้ำรังผึ้ง ต้องมีน้ำเต็มและฝาปิดหม้อน้ำไม่ชำรุด สายยางท่อน้ำอยู่ในสภาพดี

(4) ตรวจวัดระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ ต้องอยู่ในระดับที่กำหนด

(5) ตรวจสอบน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีปริมาณเพียงพอหรือไม่ สำหรับการเดินเครื่องใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อ
ระบบควบคุมตั้งอยู่ในตำแหน่ง Automatic

(6) ตรวจสอบระบบการประจุของแบตเตอรี่ของเครื่องประจุ

(7) ตรวจสอบระดับน้ำกลั่นของแบตเตอรี่ต้องไม่แห้ง ขั้วสายไฟของแบตเตอรี่ต้องสะอาดและแข็งแรง

(8) ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำ น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันดีเซลจากตัวเครื่องยนต์ หากพบว่ามีการรั่วซึมให้รีบแก้ไขหรือเรียกบริการจากช่างผู้ชำนาญ

(9) ตรวจสอบความตึงของสายพาน ต้องไม่หย่อนหรือตึงเกินไปโดยกดที่ระยะกึ่งกลางระหว่างพูเล่ของ
ใบพัดกับพูเล่ของไดชาร์ต น้ำหนักกดประมาณ 10 kg ตั้งความตึงสายพานให้ได้ประมาณ 11 ถึง 13
mm. สายพานหย่อนเกินมักก่อให้เกิดปัญหาของเครื่องยนต์ดีเซลมีอุณหภูมิสูง และการประจุไฟ
ของไดชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ต่ำเกินไป สายพานที่ตึงเกินไปจะทำให้ตัวสายพานและพูเล่ต่าง ๆ เสื่อมสภาพ
เร็วกว่าปกติ

(10) ตรวจสอบใบพัดระบายอากาศ ต้องอยู่ในสภาพดีไม่แตกชำรุด

(11) ตรวจสอบ Circuit Breaker ต้องอยู่ในสภาพดีและขั้วต่อสายไฟต่าง ๆ แน่นหนาแข็งแรง

(12) ทดสอบเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยไม่ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้า และตรวจสอบแรงดันของไฟฟ้าต้อง
อยู่115 ในเกณฑ์ปกติ 220 V. โดยวัดจาก Line กับ Neutral หรือ 380 V. วัดระหว่าง Line กับ Line

(13) ตรวจสอบความถี่ทางไฟฟ้า ต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติ 50 ถึง 52 Hz

(14) ตรวจสอบแรงดันของน้ำมันเครื่องว่าปกติหรือไม่ (ดูจากมาตรวัดความดัน)หลีกเลี่ยงการเดินเครื่อง
ยนต์โดยระดับแรงดันน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด เครื่องยนต์ใช้งานในสภาวะปกติ แรงดัน
น้ำมันหล่อลื่นจะต้องไม่ต่ำกว่าระดับกำหนดนี้จึงจะไม่ทำให้เครื่องยนต์ชำรุด

เมื่อเดินเบารอบเครื่องประมาณ 800 RPM 10 PSI (0.07 Mpa)

เมื่อเดินเครื่องใช้งานรอบเครื่องประมาณ 1500 RPM 40 PSI (0.28 Mpa)

Wednesday, May 27, 2009

กรมช่างโยธาทหารเรือ สอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 15 KW

กรมช่างโยธาทหารเรือ มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 15 KW. จำนวน 1 เครื่อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่สอบราคาซื้อดังกล่าว
2. ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
3. ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันนั้น
4. ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่ กรมช่างโยธาทหารเรือ ณ วันประกาศสอบราคาซื้อ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการสอบราคาซื้อครั้งนี้

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 ถึง 1 มิถุนายน 2552 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.00 น. ณ แผนกพัสดุช่าง กองการพัสดุ กรมช่างโยธาทหารเรือ ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 2 มิถุนายน 2552 เวลา 10.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ แผนกพัสดุช่าง กองการพัสดุ กรมช่างโยธาทหารเรือ ถนนวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ - หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2475 5663 ในวันและเวลาราชการ

Monday, May 25, 2009

ลูกยางรองแท่นเครื่องกับสปริงรองแท่นเครื่อง

ลูกยางรองแท่นเครื่อง (Vibration Isolator rubber type) มักจะติดตั้งมากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Diesel Generator) เป็นมาตรฐานแล้ว โดยแต่ละยี่ห้อก็จะจัดอุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือนแตกต่างกันไป ซึ่งจากประสบการณ์ของผมพบว่า ผู้ขายมักจะจัดมาให้เหมาะสมกับการติดตั้งอยู่แล้ว (อย่าไประแวงคนขายเกินกว่าเหตุ) เพราะถ้าหากจัดมาแล้วมีปัญหา ไม่ได้ปวดหัวแต่ลูกค้า คนขายเองก็ปวดหัวด้วย เพราะลูกค้าอย่างเรา ๆ ก็คงโทรตามไม่เลิกแน่ ๆ

ซึ่งการใช้งานที่แตกต่างกันนั้นส่วนหนึ่งก็จะมีสาเหตุมาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กในปัจจุบันหลาย ๆ ยี่ห้อออกแบบถังน้ำมันให้อยู่ใต้แท่นเครื่อง และได้คำนวณติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือนโดยใช้ลูกยางรองแท่นเครื่องมาจากโรงงานแล้ว (และไม่ควรติดตั้งสปริงเพิ่มเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาเครื่องสั่นในขณะใช้งานได้) อันเนื่องมาจากถังน้ำมันใต้แท่นเครื่องที่จะมีปริมาณน้ำมันไม่คงที่ตลอดเวลาเพราะเมื่อมีการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะทำให้ปริมาณน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้น้ำหนักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีการผันแปรไป ซึ่งถ้าติดสปริงเพิ่มก็จะมีผลให้เวลาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน เครื่องจะสั่นได้

แต่ในกรณีที่ถังน้ำมันเป็นแบบแยก น้ำหนักของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากเหมือนกับกรณีถังน้ำมันใต้แท่น ดังนั้นการติดตั้งสปริงเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนจึงมักจะไม่ค่อยเจอปัญหาเครื่องสั่น

สรุปแล้วเชื่อคนขายดีกว่าครับ ตอนแรกเค้าบอกว่าไม่จำเป็น ผมก็นึกว่าเค้ากลัวเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่สุดท้ายต้องมานั่งแก้ไขปัญหา ว่าทำไมเวลาเครื่องทำงานแล้วสั่นเป็นเจ้าเข้าเลย สุดท้ายพอถอดสปริงออกเครื่องเดินนิ่งเชียว

Sunday, May 24, 2009

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำฝน

น่าภูมิใจครับสำหรับสิ่งประดิษฐ์ของคนไทย แต่ผมเห็นว่าน่าจะนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับ เครื่องออกกำลังกายก็จะ work มาก เพราะ ถ้ารอแต่น้ำฝน ก็ไม่รู้เมื่อไหร่ ฝนจะตก และปริมาณน้ำฝนไม่สม่ำเสมอ แต่ถ้านำมาใช้กับการออกกำลังกายในแต่ละบ้าน สมมติที่บ้านมีสมาชิกสัก 3-4 คน ออกกำลังกายทุกวัน วันละ 30 นาที และก็นำพลังงานที่ได้มาเก็บไว้ (แต่ปัญหาคือพลังงานไฟฟ้าสามารถเก็บได้ยาก ต้องเก็บไว้ในแบตเตอรี่ หรืออาจนำพลังงานกลมาทำให้เป็นพลังงานศักย์ก่อน (เช่น ปั่นจักรยานนำน้ำขึ้นไปเก็บไว้ที่สูง แล้วค่อยปล่อยน้ำออกมาให้หมุนชุดกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น) ) ก็จะมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างสม่ำเสมอ แถมทำให้สุขภาพดีอีกด้วยนะ

จาก www.youtube.com


Friday, May 22, 2009

หม้อระงับเสียงไอเสีย (Silencer, Muffler)








หม้อระงับเสียง หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Silencer บางทีเรียกว่า Muffler นั้น
โดย Cummins จะแบ่งตามการใช้งาน 3 ชนิด คือ
1. ชนิดใช้กับอุตสาหกรรม (Industrial Type)
2. ชนิดใช้กับที่อยู่อาศัย (Residential Type)
3. ชนิดพิเศษ (Critical Type)
Caterpillar จะแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
1. ชนิดใช้กับที่อยู่อาศัย (Residential Type)
2. ชนิดพิเศษ (Critical Type)
3. ชนิดพิเศษมาก ๆ (Supercritical Type)
Kohler แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
1. ชนิดใช้กับอุตสาหกรรม (Industrial Type)
2. ชนิดใช้กับที่อยู่อาศัย (Residential Type)
3. ชนิดพิเศษ (Critical Type)
4. ชนิดใช้กับโรงพยาบาล (Hospital Type)

ซึ่งหม้อระงับเสียง (Silencer) แต่ละชนิดจะมีความสามารถลดเสียงได้แตกต่างกันโดยชนิดที่ใช้กับอุตสาหกรรม (Industrial Type) จะลดเสียงได้น้อยที่สุด และชนิดพิเศษ (Critical Type) จะสามารถลดเสียงได้มากที่สุด แต่ทั้งนี้ราคาของชนิดพิเศษ (Critical Type) ก็สูงที่สุดเช่นกัน
โดยปกติหม้อระงับเสียง (Silencer) ที่จัดโดยตรงจากผู้ขายทั่วไปแล้วจะเป็นชนิดที่ใช้กับอุตสาหกรรม (Industrial Type) หรือใช้กับที่อยู่อาศัย (Residential Type) แต่ถ้าผู้ใช้งานต้องการหม้อระงับเสียงนอกจากเหนือจากนี้คงต้องเจรจาผู้ขายก่อน เนื่องจากหม้อระงับเสียง (Silencer) Critical type ต้องสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ และมีราคาที่แพงกว่าหม้อระงับเสียงธรรมดาหลายเท่า อีกทั้งโดยปกติแล้วเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกือบ 100 % ในประเทศไทย จะเป็นการใช้งานแบบสำรองฉุกเฉิน (ใช้งานเฉพาะช่วงไฟดับ) และมีการทดลองเดินเครื่องเพียงอาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 10 นาที ดังนั้นการลงทุนดังกล่าวจึงไม่ค่อยที่จะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายเพิ่มสักเท่าไหร่ จึงไม่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
ข้อมูลจาก Installation Cummins, Caterpillar, Kohler

Wednesday, May 20, 2009

กสท สอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดไม่ต่ำกว่า 30 KVA. พร้อมอุปกรณ์และการติดตั้ง 5 เครื่อง

ฝ่ายพัสดุ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดไม่ต่ำกว่า 30 KVA. พร้อมอุปกรณ์และการติดตั้ง จำนวน 5 เครื่อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

กำหนดยื่นซองสอบราคา ณ ฝ่ายพัสดุ ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2552ภายในเวลา 09.00-14.00 นาฬิกา ตามเวลานาฬิกาของฝ่ายพัสดุ เป็นมาตรฐาน

กำหนดเปิดซองสอบราคาในวันเดียวกันเวลา 14.00 นาฬิกา
จำหน่ายเอกสารสอบราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มชุดละ 107.-บาท(หนึ่งร้อยเจ็ดบาทถ้วน)
ผู้สนใจโปรดติดต่อขอซื้อเอกสารสอบราคาได้ที่ ส่วนจัดหาพัสดุงบทำการ ฝ่ายพัสดุ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210-0298 โทร.0-2104-3140,0-2104-3144 ตั้งแต่วันที่18 พฤษภาคม 2552 ในเวลา 09.00 -15.30 น. เป็นต้นไป

Sunday, May 17, 2009

Rating Definitions by ISO8528-1

The International Standards Organization (ISO) 8528-1 defines three types of duty:
***Continuous Operating Power (COP)
***Prime Running Power (PRP)
***Limited-Time running Power (LTP)

Limited-Time Running Power (LTP) (หรือพิกัดแบบสำรองฉุกเฉิน Standby Rating)
Limited-time running power is the maximum power that a generator set delivers for up to
500 hours per year under stated ambient conditions. Only 300 hours can be continuous running. Maintenance according to the manufacturer must be followed to reach these standards.

Prime Running Power (PRP) (หรือพิกัดแบบต้นกำลัง)
Prime running power is the maximum power a generator set has during a variable power sequence for an unlimited number of hours under stated ambient conditions. Maintenance
according to the manufacturer must be followed to reach these standards.

Continuous Operating Power (COP) (หรือพิกัดแบบต่อเนื่อง)
Continuous operating power is the power a generator set can operate at a continuous
load for an unlimited number of hours under stated ambient conditions. Maintenance
according to the manufacturer must be followed to reach these standards.

Rating Definitions by Cummins

พิกัดแบบสำรองฉุกเฉิน (Standby Rating)
Applicable for supplying power to varying electrical load for the duration of power interruption of a reliable utility source. Emergency Standby Power (ESP) is in accordance with ISO 8528. Fuel Stop power in accordance with ISO 3046, AS 2789, DIN 6271 and BS 5514.

พิกัดแบบต้นกำลัง (Prime Rating)
Applicable for supplying power to varying electrical load for unlimited hours. Prime Power is in
accordance with ISO 8528.Ten percent overload capability is available in accordance with ISO
3046, AS 2789, DIN 6271 and BS5514.

พิกัดแบบต่อเนื่องจำกัดชั่วโมงการใช้งาน
Applicable for supplying power to a constant electrical load for limited hours. Limited Time Running Power is in accordance with ISO8528.

พิกัดแบบต่อเนื่อง
Applicable for supplying power continuously to a constant electrical load for unlimited hours. Continuous power in accordance with ISO 8528, ISO 3046, AS 2789, DIN 6271 and BS 5514.

Rating Definitions by Kohler

พิกัดแบบสำรองฉุกเฉิน (Standby rating)
applies to installations served by a reliable utility source. Standby power is applicable to
varying loads for the duration of the utility power interruption. There is no overload capability for the standby rating; use of the generator set above the standby rating is prohibited. Ratings are in accordance with ISO 3046/1, ISO 8528/1, BS 5514, AS 2789, and DIN 6271.

The standby rating is applicable to variable loads with an average load factor of x% of the standby rating, with 100% of rating available for the duration of the outage.
See Rating Conditions following for standby rating load factor for each generator set model.

Typical operating time is 200* hours per year or less.
Use the prime power rating for applications exceeding 200 hours of varying load operation.
A typical standby application backs up the normal/reliable utility in the event of emergency power outages

พิกัดแบบต้นกำลัง (Prime power rating)
applies to applications where utility power is unavailable or unreliable. At varying load, the number of generator set operating hours at prime rating is unlimited. Ratings are in accordance with ISO 8528/1 and overload power is in accordance with ISO 3046/1, BS 5514, AS 2789, and DIN 6271.

The prime power rating is applicable for variable loads with an unlimited number of operating hours per year. The average power output shall not exceed x% of the prime power rating. See Rating Conditions following for the prime power rating load factor for each generator set model. Loads of less than 30% shall be counted as 30%.

All models except Waukesha-powered models: A 10% overload power is available for a period of one hour in every 12 hours. This overload cannot exceed 400 hours per year.

Waukesha-powered models: A 10% (rich-burn) or 5% (lean-burn) overload power is available for a period of one hour in every 12 hours.

This overload cannot exceed 730 hours per year.
Typical prime power applications include emergency applications where frequent power outages occur, peak shaving and interruptible rate applications, backup for unreliable utility sources, or as a sole source when a utility is unavailable.

พิกัดแบบต่อเนื่องจำกัดชั่วโมงการใช้งาน (Limited running time rating)
applies to generator sets operating under nonvarying load factors and/or constant dedicated loads for a limited number of hours.

Power is continuously supplied to a constant or nonvarying load up to 100% of the limited running time rating for up to 700 hours a year. No overload capability is available at this rating; therefore, use above the limited running time rating is prohibited.

For operation exceeding 700 hours per year at constant load, use the base load (continuous rating).
Typical limited running time applications include load management, peak shaving, interruptible rate, load curtailment, and cogeneration. Contact a factory representative for generator set limited running time ratings.

พิกัดแบบต่อเนื่อง Base load rating (also referred to as continuous rating)
applies to generator sets operating as utility-type power sources where there are nonvarying load factors and/or constant dedicated loads.

Power is continuously supplied to a constant or nonvarying load up to 100% of the base load rating for an unlimited number of hours. No overload capability is available at this rating; therefore, use above the base load rating is prohibited. Ratings are in accordancewith ISO8528/1, ISO 3046/1, BS 5514, AS 2789, and DIN 6271.

Typical base load applications include utility, base load, main source of electrical power, and cogeneration.

Rating Definitions by Caterpillar

การให้คำจำกัดความ rating ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar จะอิงตาม load factor, ชั่วโมงการใช้งานต่อปี, ความต้องการสูงสุด (peak demand) และลักษณะการใช้งาน ดังนี้

พิกัดสำรองฉุกเฉิน (Standby Rating)
Output available with varying load for the duration of the interruption for the normal
power source.* (จ่ายไฟให้กับโหลด (โหลดไม่คงที่) ในช่วงเวลาที่ไฟปกติดับ)

Typical Load Factor = 60% or less
Typical Hours per Year = 500 hours
Typical Peak Demand = 80% of standby rated ekW with 100% of rating available for the duration of an emergency outage.
Typical Application = Building Services standby and enclosed/sheltered environment.

พิกัดแบบต้นกำลัง (Prime Rating)
Output available with varying load for an unlimited time.** (จ่ายไปให้กับโหลด (โหลดไม่คงที่) ตลอดเวลา เหมาะกับสถานที่ที่ไม่มีไฟหลวงใช้งานหรือต้องการเดินเครื่องเพื่อจ่ายไฟในช่วง peak load)
Typical Load Factor = 60% to 70%
Typical Hours per Year = no limit
Typical Peak Demand = 100% of prime rating used occasionally.
Typical Application = industrial, pumping, construction, peak shaving or cogeneration.

พิกัดแบบต่อเนื่อง (Continuous Rating)
Output available without varying load for an unlimited time.*** (จ่ายไฟให้กับโหลด (โหลดคงที่) ตลอดเวลา)
Typical Load Factor = 70% to 100%
Typical Hours per Year = no limit
Typical Peak Demand = 100% of continuous rating used 100% of the time.
Typical Application = base load, utility, cogeneration, parallel operation.
Operating above these rating definitions will result in shorter life and higher generating costs per year

Thursday, May 14, 2009

Diesel Generator

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 500 kVA ที่รีสอร์ท ในอียิปต์ (Egypt)


เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลเกิดจากการนำเอาเครื่องยนต์ดีเซล (diesel engine) มาประกอบกับชุดกำเนิดไฟฟ้า (alternator) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยปกติเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลมักจะนำมาใช้ในบริเวณที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือใช้สำรองฉุกเฉินในกรณีที่ไฟหลวงดับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (portable diesel generator) จะมีขนาดประมาณ 1-10 kVA ซึ่งจะนำมาใช้จ่ายไฟตามสถานที่ก่อสร้าง, ในรถเคลื่อนที่ หรือใช้ตามบ้าน

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ลอยฟ้า

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบใจกับการติดตั้งใบพัดโรงไฟฟ้าพลังงานลมล่ะก็ คุณอาจจะชอบไอเดียของบริษัท Sky WindPower ในซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา ก็ได้นะครับ ทีมงานของบริษัท Sky WindPower นำโดยทีมโดยนาย Dave Shepard กำลังจะเอาใบพัดเหล่านั้นไปลอยรับลมอยู่บนฟ้า

ที่ความสูงขึ้นไป 10 กิโลเมตรจากพื้นดิน ลมที่ดูเหมือนว่าจะแรงในระดับพื้นดินนั้นดูจะเบาไปถนัดตา เพราะลมที่ความสูงระดับนั้นพัดแรงและต่อเนื่องมากกว่า พลังงานลมที่ได้จากความสูงนั้นมากกว่าพลังงานลมเหนือพื้นดินถึงร้อยเท่า ทุกวันนี้ใบพัดที่มีความสูงมากที่สุด สูงได้มากกว่า 200 เมตรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิศวกรเหล่านี้กำลังหาวิธีเก็บเกี่ยวพลังงานนี้จากท้องฟ้าในแบบที่ใบพัดทั่วไปทำไม่ได้ พวกเขากำลังจะสร้าง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยฟ้า!!

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยฟ้า ของ นาย Shepardนี้ จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับว่าวผสมกับเฮลิคอปเตอร์ ใบพัดทั้ง 4 อันจะเรียงกันบนฐานรูปเป็นรูปตัว H และตรึงลงมาที่พื้นด้วยสายเคเบิล ใบพัดเหล่านี้จะทำหน้าที่คล้ายกับตัวว่าวซึ่งส่งแรงยกให้ฐานลอยอยู่ในท้องฟ้าได้ เมื่อใบพัดหมุน มันก็จะหมุนไดนาโมและผลิตกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าก็จะถูกส่งลงมายังพื้นดินด้วยสายเคเบิลอลูมิเนียม ในช่วงลมสงบ ไดนาโมก็จะทำหน้าที่เป็นมอเตอร์หมุนให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยอยู่ได้

นาย Shepard คาดว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดนี้จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในราคาเพียงกิโลวัตต์ละ 2 เซนต์ซึ่งถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมธรรมดาในราคา 3-5 เซนต์ อย่างไรก็ตาม การสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยฟ้านี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเทคโนโลยีของเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีค่อนข้างจำกัด นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องลดความถี่ในการซ่อมบำรุงใบพัด (เครื่องบินทั่วไปต้องซ่อมบำรุงทุกๆ 2-3 วัน) เพื่อให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้

แต่นาย Shepard ก็เชื่อว่าปัญหานี้มีทางออก

ในเฮลิคอปเตอร์ทั่วไปนั้นการทำมุมของใบพัดแต่ละใบนั้นจะเปลี่ยนไปทุกๆรอบการหมุน นั่นหมายความว่าองศาของใบพัดจะเปลี่ยนมากกว่าพันครั้งต่อนาที การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดการสึกหรอของอุปกรณ์อย่างรวดเร็ว ด้วยการจัดใบพัดทั้งสี่ในตำแหน่งที่เหมาะสม จะสามารถปรับองศาของกังหันหนึ่งหรือสองอันแทนที่จะปรับใบพัดทุกใบ ด้วยวิธีนี้นาย Shepard เชื่อว่าจะช่วยลดการสึกหรอและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมากพอที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จริงได้การนำพลังงานจากลมในระดับสูงมาใช้ประโยชน์ถือเป็นหนึ่งในความฝันสูงสุดของวิศวกรการบิน นาย Ken Caldeira นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศจาก the Carnegie Institution ผู้ทำงานร่วมกับทีมจากบริษัท Sky WindPower คาดว่า ถ้าเราสามารถนำเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานลมนี้มาใช้ได้ เราจะมีพลังงานมากพอให้คนทั้งโลกเลยทีเดียว

บริษัท Magenn Power ในประเทศแคนาดาได้พัฒนาโครงงานลักษณะใกล้เคียงกันขึ้นเช่นเดียวกัน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของบริษัทนี้จะลอยสูงจากพื้นดินประมาณ 1 กิโลเมตรโดยใช้ก๊าซฮีเลียม ใบพัดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะหมุนในแกนนอนแบบเดียวกับใบพัดพลังน้ำ ทางบริษัทคาดว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถนำไปใช้แทนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั่วไปซึ่งใช้น้ำมันดีเซล ในพื้นที่ที่ลมระดับพื้นดินไม่เพียงพอที่จะหมุนใบพัดธรรมดาในขณะเดียวกัน นาย Wubbo Ockels แห่ง Delft University of Technology ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็ได้จับมือกับบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง Royal Dutch Shell และบริษัทก๊าซธรรมชาติ Nederlandse Gasunie คิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยฟ้าเช่นเดียวกันแต่ในระดับความสูงที่น้อยกว่า โดยการปล่อยว่าว (ซึ่งไม่มีใบพัดติดอยู่) จากสถานีภาคพื้นดิน เมื่อว่าวถูกดึงสูงขึ้นในอากาศ แรงดึงจะทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุน และเมื่อว่าวลอยจนถึงจุดสูงสุดแล้วรูปร่างของว่าวก็จะเปลี่ยนไปเพื่อให้มันรับลมได้น้อยลง แล้วว่าวก็จะถูกม้วนกลับลงมายังระดับที่ต่ำลงเพื่อจะได้ลอยกลับขึ้นไปใหม่ได้การจัดวางว่าวตั้งแต่สองอันขึ้นไปอย่างเหมาะสมจะสามารถทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นไปอย่างต่อเนื่องได้ เมื่อว่าวตัวหนึ่งถูกปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า พลังงานไฟฟ้าที่ได้ส่วนหนึ่งจะถูกนำมาดึงว่าวอีกตัวที่ขึ้นสู่จุดสูงสุดกลับลงมา

ระบบนี้มีข้อดีมากกว่าระบบใบพัดเพราะว่ามีอุปกรณ์ง่ายๆเพียงไม่กี่อย่างที่ต้องลอยสู่ท้องฟ้าเมื่อเทียบกับระบบใบพัด ในส่วนนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้อย่างมากอย่างไรก็ตาม การควบคุมทิศทางของว่าวเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดร. Ockels ได้ออกแบบตัวว่าวให้มีรูปร่างคล้ายเครื่องบินโดยการติดปีกและหางเสือเพื่อช่วยควบคุมทิศทางว่าว ปีกและหางเสือจะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับเครื่องบินที่ไม่ใช้คนขับ

ขณะนี้ทีมของ ดร.Ockels กำลังสร้างเครื่องต้นแบบขนาด 100 กิโลวัตต์และเขาคาดว่าทีมจะสามารถลงมือสร้างเครื่องจริงขนาด 10 เมกะวัตต์ได้ภายใน 5 ปี เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 5 เมกกะวัตต์จะสามารถให้พลังงานกับ 6000 ครัวเรือนในราคาเพียง 1 เซนต์ ต่อกิโลวัตต์ ถึงแม้ว่าพลังงานราคาถูกเหล่านี้ก็ยังอยู่ในขั้นการทดลอง และหลายๆคนก็คงเห็นด้วยว่าการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยฟ้าที่ใช้ได้ในเชิงพาณิชย์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่แรงผลักดันจากทางรัฐบาลและเอกชนในการใช้พลังงานทดแทนนั้นจะเป็นตัวการสำคัญสู่ความสำเร็จของโครงการเหล่านี้ บางทีมันก็อาจจะถึงเวลาแล้วล่ะที่เราจะต้องหันมามองอะไรที่มันเคย “เป็นไปไม่ได้” เพราะหลายๆอย่างที่เคย “เป็นไปไม่ได้” มันก็ เป็นไปได้มาแล้ว จริงมะ?

อ้างอิงจาก นิตยสาร The Economist ฉบับเดือน มิถุนายน 2007