Wednesday, June 10, 2009

จังหวัดอุบลราชธานี ประมูลซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 500 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

ด้วยจังหวัดอุบลราชธานี โดยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม มีความประสงค์จะประมูลซื้อ รายการ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 500 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,600,000.-(สามล้านหกแสนบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.เพื่อใช้ในการสนับสนุนงานด้านบริการของสถานบริการให้มีความพร้อมสำหรับให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในพื้นที่
2.รายละเอียดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 500 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 3,600,000.บาท(สามล้านหกแสนบาทถ้วน)
3.ราคากลางของทางราชการ เครื่องละ 3,600,000. บาท
4.เงินที่ซื้อใช้เงินบำรุงของ รพร.เดชอุดม สสจ.อุบลราชธานี
5.กำหนดระยะเวลาส่งมอบ 180 วัน ยืนราคา 120 วัน
6.จัดซื้อโดยวิธีประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์

ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่ประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว
2. ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว
3. ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทยเว้นแต่รัฐบาลของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันนั้น 4. ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม และไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เสนอราคากับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ณ วันประกาศประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ในการประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้

กำหนดยื่นเอกสารประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 22 มิถุนายน 2552 ถึง 22 มิถุนายน 2552 ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 11.00 น. ณ หอประชุมท้องถิ่น ที่ว่าอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกให้เข้าเสนอราคาในวันที่ 24 มิถุนายน 2552 เวลา 09.00 น.

ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในราคาชุดละ 0 บาท ได้ที่ งานพัสดุ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.detudomhospital.org หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 045-361133 ต่อ 125 , 203 ในวันและเวลาราชการ

Monday, June 8, 2009

Sunday, June 7, 2009

ขั้นตอนการขออนุญาตผลิตพลังงานควบคุม

การขออนุญาตการผลิตพลังงานควบคุม สำหรับผู้ที่ครอบครองเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 200 kVA ขึ้นไป จะต้องดำเนินการยื่นคำขอรับใบขออนุญาตการผลิตพลังงานควบคุม โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ยื่นคำรับใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม แบบ พค.1พร้อใอกสารประกอบดังนี้

1.1 สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนนิติบุคคลที่ยื่นขอรับใบอนุญาต อายุไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล หากกรณีเป็นบุคคลธรรมดาจะต้องมีหนังสือใบจดทะเบียนการค้า จำนวน 1 ชุด

1.2 หนังสือมอบอำนาจตามแบบของพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมติดอากรแสตมป์ ราคา 10 บาท ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้รับมอบอำนาจให้ยื่นขอรับใบอนุญาต

1.3 สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ

1.4 แผนผังบริเวณที่ตั้งสถานที่ผลิตพลังงานควบคุม (แผนที่) จำนวน 2 ชุด

1.5 แผนผังวิธีการเดินสายและการจ่ายพลังงานควบคุม(Singleline Diagrams) จำนวน 2 ชุด

1.6 พิกัดขนาดติดตั้งของเครื่องใช้พลังงานที่ใช้กับพลังงานควบคุม แต่ละแหล่งผลิตพลังงานควบคุม จำนวน 2 ชุด (LOAD)

1.7 สำเนาใบอนุญาตประกอบวิศวกรรมควบคุม ของผู้ควบคุมการผลิตพลังงานควบคุม (ถ้ามี)

2. การตรวจสอบ จะทำการตรวจสอบในส่วนของรายละเอียดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่แจ้งในใบคำขอรับใบอนุญาต ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องวัดของชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและชุดต้นกำลัง ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกัน (เช่น Circuit Breaker สวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติ Potential Relay อุปกรณ์ระบบสับเปลี่ยน อุปกรณืการเชื่อมโยงหรือการขนานเครื่อง ระบบการจ่ายพลังงาน และบริเวณสถานที่ตั้ง และอุปกรณ์ในการป้องการเกิดอุบัติภัย เช่น ถังเคมีดังเพลิง มีแสงสว่างในพื้นที่ผลิตพลังงานควบคุมอย่างเพียงพอ)

3. ขั้นตอนการนำเสนอรายงานของเจ้าหน้าที่ โดยจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่กรมกำหนดไว้ หากระบบถูกต้องตามเกณฑ์ จะได้รับการพิจาณาออกใบอนุญาต โดยใบอนุญาตมีอายุครั้งละ 4 ปี หากผลการตรวจสอบพิจารณาแล้วไม่มีความปลอดภัยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ทาง กรม ฯ จะมีหลังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทำการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ โดยผู้ขออนุญาตจะต้องแก้ไขปรับปรุงระบบและแจ้งผลกับทางกรม ฯ ภายใน 45 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และจะต้องมีการตรวจสอบใหม่จนกว่าจะมีการติดตั้งหรือปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

4. ระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนออกใบอนุญาต ในกรณีที่ระบบมีความถูกต้องจะออกใบอนุญาตภายใน 50 วัน

5. การยื่นคำขอรับใบอนุญาตฯไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

หากมีข้อสงสัยประการใดกรุณาติดต่อได้ที่ 02-207 3599

เนื่องจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 (มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2550) ทำให้อำนาจหน้าที่การออกใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุมจากเดิมของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปลี่ยนเป็นของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

โดยผู้ขออนุญาตฯจะต้องยื่นขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 19 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 (www.erc.or.th) โทร 0 2207 3599 ต่อ 621 โทรสาร 02 207 3502 02-2230021-9 ต่อ 1511,1512

รายละเอียดเพิ่มเติมและแบบฟอร์มที่ http://www.dede.go.th/dede/index.php?id=809