Thursday, May 14, 2009

Diesel Generator

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 500 kVA ที่รีสอร์ท ในอียิปต์ (Egypt)


เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลเกิดจากการนำเอาเครื่องยนต์ดีเซล (diesel engine) มาประกอบกับชุดกำเนิดไฟฟ้า (alternator) เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยปกติเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลมักจะนำมาใช้ในบริเวณที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือใช้สำรองฉุกเฉินในกรณีที่ไฟหลวงดับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (portable diesel generator) จะมีขนาดประมาณ 1-10 kVA ซึ่งจะนำมาใช้จ่ายไฟตามสถานที่ก่อสร้าง, ในรถเคลื่อนที่ หรือใช้ตามบ้าน

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ลอยฟ้า

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบใจกับการติดตั้งใบพัดโรงไฟฟ้าพลังงานลมล่ะก็ คุณอาจจะชอบไอเดียของบริษัท Sky WindPower ในซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา ก็ได้นะครับ ทีมงานของบริษัท Sky WindPower นำโดยทีมโดยนาย Dave Shepard กำลังจะเอาใบพัดเหล่านั้นไปลอยรับลมอยู่บนฟ้า

ที่ความสูงขึ้นไป 10 กิโลเมตรจากพื้นดิน ลมที่ดูเหมือนว่าจะแรงในระดับพื้นดินนั้นดูจะเบาไปถนัดตา เพราะลมที่ความสูงระดับนั้นพัดแรงและต่อเนื่องมากกว่า พลังงานลมที่ได้จากความสูงนั้นมากกว่าพลังงานลมเหนือพื้นดินถึงร้อยเท่า ทุกวันนี้ใบพัดที่มีความสูงมากที่สุด สูงได้มากกว่า 200 เมตรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิศวกรเหล่านี้กำลังหาวิธีเก็บเกี่ยวพลังงานนี้จากท้องฟ้าในแบบที่ใบพัดทั่วไปทำไม่ได้ พวกเขากำลังจะสร้าง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยฟ้า!!

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยฟ้า ของ นาย Shepardนี้ จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับว่าวผสมกับเฮลิคอปเตอร์ ใบพัดทั้ง 4 อันจะเรียงกันบนฐานรูปเป็นรูปตัว H และตรึงลงมาที่พื้นด้วยสายเคเบิล ใบพัดเหล่านี้จะทำหน้าที่คล้ายกับตัวว่าวซึ่งส่งแรงยกให้ฐานลอยอยู่ในท้องฟ้าได้ เมื่อใบพัดหมุน มันก็จะหมุนไดนาโมและผลิตกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าก็จะถูกส่งลงมายังพื้นดินด้วยสายเคเบิลอลูมิเนียม ในช่วงลมสงบ ไดนาโมก็จะทำหน้าที่เป็นมอเตอร์หมุนให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยอยู่ได้

นาย Shepard คาดว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดนี้จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในราคาเพียงกิโลวัตต์ละ 2 เซนต์ซึ่งถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมธรรมดาในราคา 3-5 เซนต์ อย่างไรก็ตาม การสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยฟ้านี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเทคโนโลยีของเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีค่อนข้างจำกัด นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องลดความถี่ในการซ่อมบำรุงใบพัด (เครื่องบินทั่วไปต้องซ่อมบำรุงทุกๆ 2-3 วัน) เพื่อให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้

แต่นาย Shepard ก็เชื่อว่าปัญหานี้มีทางออก

ในเฮลิคอปเตอร์ทั่วไปนั้นการทำมุมของใบพัดแต่ละใบนั้นจะเปลี่ยนไปทุกๆรอบการหมุน นั่นหมายความว่าองศาของใบพัดจะเปลี่ยนมากกว่าพันครั้งต่อนาที การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดการสึกหรอของอุปกรณ์อย่างรวดเร็ว ด้วยการจัดใบพัดทั้งสี่ในตำแหน่งที่เหมาะสม จะสามารถปรับองศาของกังหันหนึ่งหรือสองอันแทนที่จะปรับใบพัดทุกใบ ด้วยวิธีนี้นาย Shepard เชื่อว่าจะช่วยลดการสึกหรอและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมากพอที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จริงได้การนำพลังงานจากลมในระดับสูงมาใช้ประโยชน์ถือเป็นหนึ่งในความฝันสูงสุดของวิศวกรการบิน นาย Ken Caldeira นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศจาก the Carnegie Institution ผู้ทำงานร่วมกับทีมจากบริษัท Sky WindPower คาดว่า ถ้าเราสามารถนำเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานลมนี้มาใช้ได้ เราจะมีพลังงานมากพอให้คนทั้งโลกเลยทีเดียว

บริษัท Magenn Power ในประเทศแคนาดาได้พัฒนาโครงงานลักษณะใกล้เคียงกันขึ้นเช่นเดียวกัน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของบริษัทนี้จะลอยสูงจากพื้นดินประมาณ 1 กิโลเมตรโดยใช้ก๊าซฮีเลียม ใบพัดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะหมุนในแกนนอนแบบเดียวกับใบพัดพลังน้ำ ทางบริษัทคาดว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถนำไปใช้แทนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั่วไปซึ่งใช้น้ำมันดีเซล ในพื้นที่ที่ลมระดับพื้นดินไม่เพียงพอที่จะหมุนใบพัดธรรมดาในขณะเดียวกัน นาย Wubbo Ockels แห่ง Delft University of Technology ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็ได้จับมือกับบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่าง Royal Dutch Shell และบริษัทก๊าซธรรมชาติ Nederlandse Gasunie คิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยฟ้าเช่นเดียวกันแต่ในระดับความสูงที่น้อยกว่า โดยการปล่อยว่าว (ซึ่งไม่มีใบพัดติดอยู่) จากสถานีภาคพื้นดิน เมื่อว่าวถูกดึงสูงขึ้นในอากาศ แรงดึงจะทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุน และเมื่อว่าวลอยจนถึงจุดสูงสุดแล้วรูปร่างของว่าวก็จะเปลี่ยนไปเพื่อให้มันรับลมได้น้อยลง แล้วว่าวก็จะถูกม้วนกลับลงมายังระดับที่ต่ำลงเพื่อจะได้ลอยกลับขึ้นไปใหม่ได้การจัดวางว่าวตั้งแต่สองอันขึ้นไปอย่างเหมาะสมจะสามารถทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นไปอย่างต่อเนื่องได้ เมื่อว่าวตัวหนึ่งถูกปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า พลังงานไฟฟ้าที่ได้ส่วนหนึ่งจะถูกนำมาดึงว่าวอีกตัวที่ขึ้นสู่จุดสูงสุดกลับลงมา

ระบบนี้มีข้อดีมากกว่าระบบใบพัดเพราะว่ามีอุปกรณ์ง่ายๆเพียงไม่กี่อย่างที่ต้องลอยสู่ท้องฟ้าเมื่อเทียบกับระบบใบพัด ในส่วนนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้อย่างมากอย่างไรก็ตาม การควบคุมทิศทางของว่าวเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดร. Ockels ได้ออกแบบตัวว่าวให้มีรูปร่างคล้ายเครื่องบินโดยการติดปีกและหางเสือเพื่อช่วยควบคุมทิศทางว่าว ปีกและหางเสือจะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับเครื่องบินที่ไม่ใช้คนขับ

ขณะนี้ทีมของ ดร.Ockels กำลังสร้างเครื่องต้นแบบขนาด 100 กิโลวัตต์และเขาคาดว่าทีมจะสามารถลงมือสร้างเครื่องจริงขนาด 10 เมกะวัตต์ได้ภายใน 5 ปี เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 5 เมกกะวัตต์จะสามารถให้พลังงานกับ 6000 ครัวเรือนในราคาเพียง 1 เซนต์ ต่อกิโลวัตต์ ถึงแม้ว่าพลังงานราคาถูกเหล่านี้ก็ยังอยู่ในขั้นการทดลอง และหลายๆคนก็คงเห็นด้วยว่าการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลอยฟ้าที่ใช้ได้ในเชิงพาณิชย์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่แรงผลักดันจากทางรัฐบาลและเอกชนในการใช้พลังงานทดแทนนั้นจะเป็นตัวการสำคัญสู่ความสำเร็จของโครงการเหล่านี้ บางทีมันก็อาจจะถึงเวลาแล้วล่ะที่เราจะต้องหันมามองอะไรที่มันเคย “เป็นไปไม่ได้” เพราะหลายๆอย่างที่เคย “เป็นไปไม่ได้” มันก็ เป็นไปได้มาแล้ว จริงมะ?

อ้างอิงจาก นิตยสาร The Economist ฉบับเดือน มิถุนายน 2007

ต้องการซื้อเฉพาะเครื่องยนต์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar

โดยปกติแล้วเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar จะประกอบสำเร็จรูปมาจากต่างประเทศ และนโยบายของ Caterpillar จะเน้นการขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประกอบสำเร็จทั้งชุด ดังนั้นในกรณีที่ต้องการซื้อเฉพาะเครื่องยนต์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Caterpillar หรือซื้อเฉพาะชุดกำเนิดไฟฟ้า (alternator) นั้น จะพบว่าเฉพาะราคาของเครื่องยนต์ Caterpillar อย่างเดียว หรือราคาเฉพาะ alternator จะใกล้เคียงกับราคาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชุดใหม่ทั้งชุด ซึ่งผมเคยสอบถามราคาดูแล้วก็เลยตัดสินใจยอมซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใหม่ทั้งชุดดีกว่า

แหล่งกำเนิดเสียงรบกวนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

แหล่งกำเนิดเสียงรบกวนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาจาก 6 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. เสียงจากเครื่องยนต์ (Engine noise) เป็นสาเหตุหลัก อันเนื่องมาจากกระบวนการทาง mechanic และการเผาไหม้ (combustion) ซึ่งก่อให้เกิดเสียงอยู่ในช่วง 100-121 dBA ที่ระยะ 1 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์
2. เสียงจากพัดลมหม้อน้ำ (Cooling Fan noise) ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของลมผ่านเครื่องยนต์และหม้อน้ำด้วยความเร็วสูง ซึ่งก่อให้เกิดเสียงในช่วง 100-105 dBA ที่ระยะ 1 เมตร

3. เสียงจากชุดกำเนิดไฟฟ้า (Alternator noise) ซึ่งเกิดจากการที่ลมที่มาระบายความร้อนและการเสียดทาน ซึ่งก่อให้เกิดเสียงในช่วง 80-90 dBA ที่ระยะ 1 เมตร
4. เสียงจากการเหนี่ยวนำ (Induction noise) มีสาเหตุมาจากการ flutuations ของกระแสไฟฟ้าในขดลวดของชุดกำเนิดไฟฟ้า (alternator windings) ซึ่งก่อให้เกิดเสียงในช่วง 80-90 dB(A) ที่ระยะ 1 เมตร
5. ไอเสียเครื่องยนต์ (Engine exhaust) กรณีที่ไม่มีหม้อระงับ เสียงนี้จะอยู่ในช่วงระหว่าง 120-130 dB(A) หรืออาจจะมากกว่านี้ และโดยทั่วไปเสียงนี้สามารถลดลงได้อย่างน้อย 15 dB(A) โดยติดตั้งหม้อระงับเสียงมาตรฐาน
6. เสียงจากโครงสร้าง (Structural/mechanical noise) มีสาเหตุมาจากการสั่นสะเทือนของโครงสร้าง

by Dennis Aaberg

Defining noise

Sound is what the human ear hears; noise is simply unwanted sound. Sound is produced by vibrating objects and reaches the listener’s ear as pressure waves in the air or other media. When the amount of sound becomes uncomfortable or annoying, it means that the variations in air pressure near the ear have reached too high an amplitude. The human ear has such a wide dynamic range that the decibel (dB) scale was devised to express sound levels. The dB scale is logarithmic because the ratio between the softest sound the ear can detect and the loudest sound it can experience without damage is roughly a million to one or 1:106. By using a base-10 logarithmic scale, the whole range of human hearing can be described by a more convenient number that ranges from 0 dB (threshold of normal hearing) to 140 dB (the threshold of pain). There are two dB scales: A and L. The dB(L) unit is a linear scale that treats all audible frequencies as having equal value. However, the human ear does not experience all sound frequencies as equally loud. The ear is particularly sensitive to frequencies in the range of 1,000 to 4,000 Hz (cycles per second), and not as sensitive to sounds in the lower or higher frequencies. Therefore, the A-weighting filter, which is an approximation of loudness, is used to correct the sound pressure levels to more accurately reflect what the human ear perceives. This frequency-weighting dB(A) scale was adopted by OSHA in 1972 as the official regulated sound level descriptor.

by Dennis Aaberg

Generator Set Noise Solutions

Typical noise levels associated with various surroundings and noise sources. With the growth of standby, prime or peaking power installations in highly populated areas, design engineers have focused their attention on understanding how generator-set noise is propagated and controlled. The high cost of retrofitting a site for noise reduction makes it imperative to assess noise performance requirements early in the design stage.

Like many types of rotating machinery, reciprocating engine-powered generator sets produce noise and vibration. Whether these generator sets run continuously as in prime power applications or occasionally in standby applications, their operating sound levels often must be reduced to comply with local, state or federal ordinances. Depending on location and zoning in North America, overall maximum permitted noise levels range from 45 dB(A) to 72 dB(A).

Recently, some states and communities have begun to specify property line noise restrictions using octave band frequencies to reduce the amount of low-frequency noise that reaches community neighborhoods. Since untreated generator set noise levels can approach 100 dB(A) or more, both the location of the generator set and noise mitigation take on great importance.

In general, two forms of regulations affect the level of noise to which individuals or the public may be exposed: state or municipal noise ordinances and OSHA safety regulations. The former address noise that may migrate beyond property lines and disturb the public but that is seldom sufficiently loud to constitute a safety hazard. The latter addresses standards for noise exposure in the workplace to protect the health of workers. OSHA regulations normally only apply to workers who may be exposed to generator set noise that is above 80 dB(A) for any appreciable time. Workers can limit exposure by wearing proper hearing protection when working around high noise areas. Europe and Japan, as well as numerous other countries, also have set standards to control noise in the workplace and in the environment at large.

by Dennis Aaberg

บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สอบราคาจ้างบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1900 kVA 6 เครื่อง

ประกาศ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เรื่อง สอบราคาจ้าง เปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่และบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 1,900 KVAจำนวน 6 เครื่อง ที่อาคาร กสท โทรคมนาคม บางรัก

กำหนดยื่นสอบราคาจ้างในวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 ถึง - พฤษภาคม 2552 ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 11.00 น. ณ ฝ่ายโยธา และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 เวลา 11.10 น.
ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาจ้าง ในราคาชุดละ 107.- บาท ได้ที่ ฝ่ายโยธาและขนส่ง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ชั้น 4 อาคารบริหาร 1 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210-0298 ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2552 ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ /www.catprocurement.com หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 02-104-3659 , 02-104-3475 ในวันและเวลาราชการ

Wednesday, May 13, 2009

โรงพยาบาลเอราวัณ จังหวัดเลย สอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดไม่น้อยกว่า 100 กิโลวัตต์

จังหวัดเลย โดยโรงพยาบาลเอราวัณ มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า 100 กิโลวัตต์ พร้อมติดตั้งและเดินสายไฟฟ้าไปยังสถานที่กำหนด จำนวน 1 เครื่อง

กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ถึง 19 พฤษภาคม 2552 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. ณ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 เวลา 10.30 น. ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ - บาท ได้ที่ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลเอราวัณ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 042-865101 ต่อ 215 ในวันและเวลาราชการ

จังหวัดศรีษะเกษสอบราคาซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 300 กิโลวัตต์

จังหวัดศรีสะเกษ มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 300 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง
กำหนดยื่นสอบราคาในวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 ถึง 25 พฤษภาคม 2552 ณ งานพัสดุ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลราษีไศล และกำหนดเปิดซองใบเสนอราคาในวันที่ 26 พฤษภาคม 2552 เวลา 14.00 น. ผู้สนใจติดต่อขอรับ/ซื้อเอกสารสอบราคาซื้อ ในราคาชุดละ 500 บาท ได้ที่ งานพัสดุ ฝ่ายบริหารทั่วไป โรงพยาบาลราษีไศล ระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 0-4568-1235-6 ต่อ 112 , 126 ในวันและเวลาราชการ

Tuesday, May 12, 2009

Backpressure ในท่อไอเสีย

โดยปกติแล้วผู้ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) จะเสนอราคาการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) มาตรฐาน คือเดินท่อไอเสีย (exhaust pipe) ความยาวไม่เกิน 6 เมตร ในกรณีที่ต้องมีการเดินท่อไอเสีย (exhaust pipe) ความยาวมากกว่า 6 เมตร หรือแนวการเดินท่อไอเสียมีการโค้ง การงอ การเลี้ยว มากกว่าปกติ จะต้องคำนวณค่า Backpressure ในแนวท่อไอเสีย ซึ่งโดยปกติผู้ขายจะต้องช่วย support ในการคำนวณค่าดังกล่าวไม่ให้เกินกว่าค่ามาตรฐานของเครื่อง มิฉะนั้นจะทำให้เกิดการอั้นของไอเสียและมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) ได้

การเลือกขนาดของ ATS

โดยปกติขนาดของ ATS จะเป็นขนาดเดียวกันกับเซอร์กิตเบรคเกอร์

ซึ่งจะมีจำนวนแอมป์ที่นิยมใช้ดังนี้
100 A, 160 A, 250 A, 400 A, 630 A, 800 A, 1000 A
1250 A, 1600 A, 2000 A, 2500 A, 3200 A, 4000 A

และการคำนวณขนาดของ ATS สามารถคำนวณได้อย่างง่าย ๆ คร่าว ๆ โดยการนำเอาค่า KVA พิกัดสำรองฉุกเฉิน (Standby rating) คูณด้วย 1.5

เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 100 kVA standby ก็จะใช้ ATS ขนาด = 100 x 1.5 = 150
ดังนั้นจะเลือกใช้ขนาด ATS ที่ 160 A (เลือกขนาดที่ใหญ่กว่าที่คำนวณได้) แต่ในกรณีที่ก้ำกึ่ง เช่น
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 550 kVA Standby เมื่อคูณด้วย 1.5 จะมีค่าเท่ากับ 825 A
บางท่านอาจเลือกใช้ 800 A แต่ถ้าให้ชัวร์ก็เลือกเอาขนาด 1000 A เลยก็ได้ แต่ยิ่งขนาดแอมป์ยิ่งสูงราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

Monday, May 11, 2009

ATS คืออะไร ??

ATS ย่อมาจาก Automatic Transfer Switch มีหน้าที่สั่งให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานอัตโนมัติในช่วงที่ไฟหลวงดับหรือไฟตก
โดย ATS จะเช็คว่าไฟหลวงดับ หรือไฟตก ก็จะส่งสัญญาณ ไปเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) ให้สตาร์ท เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสตาร์ท
จนความถี่, โวล์ต ฯ ได้ค่าปกติแล้ว ก็จะสั่ง Transfer เอาไฟจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) เข้าไปยังระบบทันที
ซึ่งการทำงานดังกล่าวสามารถตั้งค่า (เซ็ท) เวลาได้ ซึ่งจะอยู่ประมาณ 8-15 วินาที ดังนั้นหลังจากที่ไฟดับท่านลองนับ 1-15 ดู รับรองว่าไม่เกิน ไฟต้องติดอย่างแน่นอน ถ้าไม่ติดแสดงว่ามีปัญหาแล้วหล่ะครับ

โดยทั่วไป ATS มีสองชนิด คือ 1. ชนิดเซอร์กิตเบรคเกอร์ ซึ่งก็จะมีขนาดแอมป์ตามขนาดของเบรคเกอร์ และ 2. ชนิดคอนแทคเตอร์

นอกจากนี้ ATS ยังแบ่งได้อีกเช่น 1. Open Transition (ในระหว่างที่ Transfer จะมีไฟกระพริบ)
2. Closed Transition (ในระหว่างที่ Transfer จะใช้เวลาน้อยมาก จนไฟแทบจะไม่กระพริบเลย)

จุดประสงค์ของการก่อปูนล้อมรอบถังน้ำมัน

การก่อปูนล้อมรอบจุดประสงค์เพื่อป้องกันน้ำมันที่รั่วออกจากถัง ไหลออกมาเปรอะเปื้อนห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งอาจจะเป็นอันตรายได้
ซึ่งในกรณีต้องการความปลอดภัยสูง ปริมาตรของการกักเก็บน้ำมันต้องสามารถรองรับน้ำมันได้มากกว่าความจุของถังน้ำมันประมาณสัก 10-20%
เช่น ถังน้ำมันขนาด 1000 ลิตร ต้องก่อปูนล้อมรอบให้สามารถรองรับน้ำมันปริมาตร 1100-1200 ลิตร เป็นต้น

แต่ในความเห็นของผมแล้ว เห็นว่าการก่อปูนล้อมรอบถังน้ำมันนั้นไม่มีความจำเป็นต้องทำ เพราะยากแก่การ Service และเนื่องจากการที่ถังน้ำมันจะรั่วไหลขนาดนั้นได้ก็น่าจะมาจากสาเหตุไม่กี่สาเหตุ เช่น ถังน้ำมันแตก (ไม่เคยเจอเลย), สวิตซ์ลูกลอยเสีย (โดยมากมักเกิดในช่วงการส่งมอบงานซึ่งผู้ขายต้องดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อย), มีคนมาเปิดวาลว์เล่น (คงไม่มีคนมีบอนขนาดนั้น) เป็นต้น

และมากกว่าร้อยละ 90 ของการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในประเทศไทย จะไม่มีการก่อปูนล้อมรอบถังน้ำมันครับ

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดไม่ต่ำกว่า 100 KVA จำนวน 4 เครื่อง พร้อมการติดตั้ง

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดไม่ต่ำกว่า 100 KVA จำนวน 4 เครื่อง พร้อมการติดตั้ง
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://view.gprocurement.go.th/01_procure/view_online_notice.php?id=285432&display_status=A